เด็กไทยตะลุยญี่ปุ่น ศึกษาเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ

คอลัมน์ สดจากเยาวชน

เด็กไทยตะลุยญี่ปุ่น – ญี่ปุ่น จุดหมายปลายทางการเรียนรู้ ของ 3 เยาวชนที่ได้รับคัดเลือกจากโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพาเวอร์กรีนปีที่ 13 ภายใต้หัวข้อการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพกับการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

จากความร่วมมือระหว่าง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน โดยมี รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ ประธานโครงการค่ายเพาเวอร์กรีน ปีที่ 13 ร่วมเดินทางไปให้ความรู้

เด็กไทยตะลุยญี่ปุ่น

คณะมุ่งหน้าจากสนามบินนาริตะสู่พื้นที่เอจิโกะซึมาริเมืองโทคะมะจิ จังหวัดนีงาตะ แหล่งท่องเที่ยวด้านศิลปะที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ชิ้นงานศิลปะรูปร่างแปลกตาตั้งอยู่กลางทุ่งนา สวนสาธารณะ กลางหุบเขา และพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย

ธรรมชาติที่สวยงามถูกใช้เป็นองค์ประกอบหลักของการรังสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปินทั่วโลก นับเป็นการสร้างจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ

เด็กไทยตะลุยญี่ปุ่น

น้องบูม น้องออม น้องแอ๊นท์

น้องแอ๊นท์ ..พัชชธร หนูปลอด ชั้น .4 โรงเรียน มหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สะท้อนมุมมองว่าประเทศไทยมีทั้งธรรมชาติที่สวยงามหลากหลายและศิลปะที่มีเสน่ห์อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ หากเรานำแนวคิดนี้ไปปรับใช้กับประเทศของเรา

โดยนำศิลปะของไทยที่ผสมผสานเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไปจัดวางตามสถานที่สำคัญต่างๆ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เช่นกัน ที่มากกว่านั้นยังเป็นการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จัก เกิดสำนึกรักและสืบสานให้คงอยู่ต่อไป

เช้าวันใหม่ที่เมืองโทคะมะจิ คณะออกเดินทางไปชมจุดต้นกำเนิดตาน้ำพุร้อนที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยธรรมชาติ เกิดจากพลังงานความร้อนที่กักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินชีวิตและการพัฒนาชุมชนในย่านมะสึโนะยามะ

คาสุนาริ ยานางิ ประธานสมาคมแหล่งออนเซ็นมะสึโนะยามะ หนึ่งในสามสุดยอดแหล่งออนเซ็นของญี่ปุ่น เล่าให้ฟังว่าชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้มีแนวคิดร่วมกันในการนำพลังงานความร้อนใต้ดิน ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสร้างรายได้ให้ชุมชน

เด็กไทยตะลุยญี่ปุ่น

ทิวทัศน์บริเวณอุทยานธรณี

 

น้องบูม นายธนัช กาญจนจินดา ชั้น .4 โรงเรียนบ้างฉางกาญจนกุลวิทยา .ระยอง กล่าวว่าไม่คิดว่าจะนำความร้อนจากใต้ดินมาใช้ประโยชน์ได้มากขนาดนี้ นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายของบ้านเรา

พื้นที่นาข้าวที่กว้างใหญ่สุดสายตาบนเกาะซาโดะ จังหวัดนีงาตะ มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่สำคัญยิ่งของเกาะซ่อนอยู่ นั่นคือนกช้อนหอยหงอนญี่ปุ่นหรือนกโทกิกำลังจิกกินอาหารอย่างเอร็ดอร่อยอยู่บนคันนา

นกโทกิเคยถูกประกาศว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากญี่ปุ่นในปี 2524 ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นได้รับนกโทกิ 5 ตัว จากรัฐบาลจีน และประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์นกโทกิเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติบนเกาะซาโดะอีกครั้ง

หนึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จคือความร่วมมือร่วมใจกันของชาวบ้านบนเกาะที่ช่วยกันรักษาระบบนิเวศท้องนาอันเป็นที่อยู่และแหล่งอาหารของนกชนิดนี้ให้กลับมาปลอดสารเคมีและอุดมสมบูรณ์ เมื่อชาวบ้านยอมเสียสละปรับตัวเพื่อให้สิ่งแวดล้อมคงอยู่ก็ย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน

ผลผลิตข้าวที่มีรสชาติอร่อยจากกระบวนการผลิตที่สะอาดจนมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับการยอมรับด้วยตราสัญลักษณ์นกโทกิบนบรรจุภัณฑ์ บ่งบอกว่าข้าวในถุงนี้ปลูกด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนกโทกิ สัตว์ที่คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญ เกิดเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์ในชุมชน

เด็กไทยตะลุยญี่ปุ่น

นกโทกิ

นกโทกิยังกลายเป็นจุดเชื่อมโยงที่ทำให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการทำนา เพื่อเอื้อต่อการมีชีวิตอยู่ของนกโทกิและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในธรรมชาติ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือจิตสำนึกและความร่วมมือกันของทุกคนที่จะสร้างโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้นได้ค่ะ อีกหนึ่งความประทับใจจาก น้องออม ..เจณิชตา เจริญชัยดี ชั้น .4 โรงเรียนวัดทรงธรรม .สมุทรปราการ

นอกจากสถานที่สำคัญเหล่านี้แล้ว น้องๆ ทั้ง 3 คน ยังได้เปิด โลกทัศน์การเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพในสถานที่แปลกใหม่อีกมากมาย ทั้งเรียนรู้วิธีการทำเหมืองแร่ทองคำสมัยโบราณ พร้อมทดลองร่อนทองคำตามแบบฉบับคนท้องถิ่น

เด็กไทยตะลุยญี่ปุ่น

ล่องเรือทาไรบุเนะ

นั่งเรืออ่างไม้ทาไรบุเนะชมความมหัศจรรย์ บนเกาะซาโดะที่ถูกบันทึกให้เป็นหนึ่งในพื้นที่อุทยานธรณีเรียนรู้วิธีการเลี้ยงหอยนางรม และเข้าชม MORI Building DIGITAL ART MUSEUM: teamLab and Borderless แลนด์มาร์กพิพิธภัณฑ์ศิลปะดิจิตอลสุดยิ่งใหญ่ที่เชื่อมต่อผู้คนเข้ากับธรรมชาติผ่านงานศิลปะได้อย่างไร้ขอบเขต

สำหรับน้องๆ ที่กำลังศึกษาสายวิทยาศาสตร์ ชั้น .4-5 ที่มีใจรักษ์สิ่งแวดล้อมและอยากมีโอกาสไปทัศนศึกษาในต่างประเทศแบบเพื่อนๆ ทั้ง 3 คน สมัครเข้าร่วมค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพาเวอร์กรีน 14” ที่กำลัง จะเปิดรับสมัครในเดือนกรกฎาคมนี้ และจัดกิจกรรมในช่วงปิดภาคเรียนในเดือนตุลาคม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน