เพนียดคล้องช้าง

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

โดย…น้าชาติ ประชาชื่น

เพนียดคล้องช้างช้างอยู่ตรงไหนของอยุธยา ไม่ใช่ในอุทยานประวัติศาสตร์ที่เอาช้างมาเดินไปเดินมาใช่ไหม

ตาโต

ตอบ ตาโต

เพนียดคล้องช้าง ตั้งอยู่ที่เลขที่ 74/1 หมู่ 3 ตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร

นับแต่สถาปนากรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักพรรดิ เพนียดคล้องช้างซึ่งขึ้นอยู่กับกรมคชบาลตั้งอยู่บริเวณวัดซอง ข้างพระราชวังจันทรเกษม หรือที่ว่าการอำเภอกรุงเก่าในปัจจุบัน จวบจน ..2123 สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงขยายกำแพงเมืองกินพื้นที่มาถึงบริเวณเพนียด จึงย้ายเพนียดไปนอกกำแพงเมือง ที่ที่ตั้งอยู่ทุกวันนี้

เพนียดคล้องช้าง

ข้อมูลจากกรมศิลปากร ระบุว่า เพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 53 ตอนที่ 16 วันที่ 18 มีนาคม 2484

บริเวณของกลุ่มเพนียดคล้องช้างมีกลุ่มโบราณสถานที่สำคัญ คือ เพนียดคล้องช้าง ตำหนักเพนียด และเตาเผาบ้านเพนียด ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการคล้องช้างป่านำมาใช้ประโยชน์ในราชการทั้งในเวลาปกติและในสงคราม แต่บางครั้งพระเจ้า แผ่นดินก็โปรดเกล้าฯให้ทำพิธีคล้องช้างป่าให้แขกเมืองชมด้วย แต่เดิมเพนียดตั้งอยู่ที่วัดซอง ทิศเหนือของพระราชวังจันทรเกษม

ครั้งถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา ..2123 โปรดเกล้าฯให้ขยายกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกไปถึงริมแม่น้ำดังกล่าว จึงให้ย้ายเพนียดไปตั้งที่ตำบลทะเลหญ้า หรือตำบลสวนพริกในปัจจุบัน

เพนียดคล้องช้าง

เพนียดคล้องช้าง

หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาในปี ..2310 เพนียดคงถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเรื่อยมา เช่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ลักษณะเพนียดคล้องช้างเป็นคอกล้อมด้วยซุงทั้งต้น เรียกว่า เสาตะลุง และมีซุงปักเป็นปีกกา หรือเป็นรั้ว แยกออกไปทั้งสองข้าง ข้างละหลายเส้น เพนียดมีประตูทางเข้าออกของช้างป่าและช้างต่อ เรียกว่า ซอง ด้านบนมีเสาใหญ่แขวนอยู่ เรียกว่า โตงเตง ไว้สำหรับเปิดปิดซองเมื่อต้อนช้างเข้าและออกจากเพนียด คอกเพนียดมีขนาดประมาณ 75×100 เมตร

แต่เดิมรอบคอกเพนียดก่อเป็นกำแพงดินประกอบอิฐสูงเสมอยอดเสาระเนียด กว้างประมาณ 8 ฟุต สำหรับคนขึ้นไปดูเวลาคล้องช้าง ส่วนพระมหากษัตริย์จะประทับที่พระที่นั่งเพนียดซึ่งอยู่บนกำแพงคอนกรีต

รวมสิ่งก่อสร้างเพนียดคล้องช้าง ประกอบด้วย พระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท เป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตร, ศาลปะกำ สถานที่สำหรับทำพิธีก่อนจับช้างเข้าเพนียด, มณฑปพระเทวกรรม ตั้งอยู่ตรงกลางเพนียด ประดิษฐานพระพิฆเนศซึ่งเป็นเทพแห่งช้าง

ใช้ประกอบพิธีพราหมณ์ขณะคล้องช้าง, เสาซุง ปักเว้นระยะนับร้อยท่อน ทำเป็นคอกชั้นใน ช้างเชือกไหนลักษณะดีต้องตามตำราคชศาสตร์จะถูกต้อนแยกเข้ามาตรงนี้, ช่องกุด ประตูเล็กๆ

สำหรับเจ้าหน้าที่เข้าออก, เชิงเทินก่ออิฐ เป็นกำแพง ล้อมรอบเพนียด และเสาโตงเตง เป็นซุงที่ห้อยจากด้านบน ปลายลอย มีเชือกดึงออกไปด้านข้าง เพื่อเปิดให้ช้างเข้า ทำหน้าที่เป็นประตู

การคล้องช้างเป็นที่สนใจของชาวตะวันตกมาก ดังปรากฏ ในจดหมายเหตุของ เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ ซึ่งเป็นราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ว่า ได้มีโอกาส ชมการคล้องช้างที่เพนียดลพบุรี

ขณะที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้จัดการคล้องช้างที่เพนียดอยุธยาให้พระเจ้าซาร์ นิโคลาสที่ 2 และแกรนดยุกบอริสวลาดิมิโรวิตซ์ แห่งรัสเซีย ทอดพระเนตร และเป็นรัชกาลสุดท้ายที่มีการคล้องช้างตามประเพณี

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน