แก่นตะวัน

คอลัมน์ อาทิตย์ละต้น

แก่นตะวัน – แก่นตะวัน มีชื่ออื่นคือ ทานตะวันหัว แห้วบัวตอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Helianthus tuberosus L. จัดเป็นพืชล้มลุก อยู่ในวงศ์ทานตะวัน มีหัวสะสมอาหาร ลักษณะเป็นตะปุ่ม ตะป่ำ ผิวไม่เรียบ คล้ายหัวขิงอวบและหัวข่า

แต่มีหลากหลายสี เช่น สีเหลือง สีขาว สีแดง และสีม่วง โดยทั่วไปเปลือกจะมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เนื้อกรอบคล้ายแห้วดิบ การเจริญเติบโตมี 2 ช่วง ช่วงแรกนับตั้งแต่ตอนปลูกจนถึงออกดอกครั้งแรก แก่นตะวันจะสะสมอาหารในใบและลำต้น หรือที่เรียกว่าหัวแก่นตะวัน หรือว่านแก่นตะวัน

แก่นตะวัน

และช่วงที่สองหลังจากดอกแรกบานจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ใบจะหลุดร่วง อาหารสะสมที่ใบจะถูกส่งไปที่หัว นำมารับประทานได้ ใบรูปไข่ ผิวใบสาก มีขนตามกิ่งและใบ แต่บางพันธุ์ขอบใบจะหยัก ต้นสูงราว 1.5-2 เมตร ดอกลักษณะทรงกลมแบน ออกดอกเป็นช่อ ดอกสีเหลือง คล้ายดอกทานตะวันหรือบัวตอง

สรรพคุณ ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รักษาอาการท้องผูก เนื่องจากแก่นตะวันมีเส้นใยอาหารสูง หากรับประทาน ในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ท้องเสีย หรือมีอาการไม่สบายท้อง

อ่าน : อาทิตย์ละต้น : กันเกรา

อ่าน : ข่าวสดอาทิตย์ละต้น : กระดุมทอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน