5 ทศวรรษศูนย์บริการโลหิต

พร้อมเดินหน้าช่วยต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์

5 ทศวรรษศูนย์บริการโลหิต – กว่า 5 ทศวรรษแล้ว ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ดำเนินภารกิจหลักของประเทศในการจัดหาโลหิตเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย

นาวาโทหญิงแพทย์หญิงอุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้กำหนด เป้าหมายจัดหาโลหิตของแต่ละประเทศ ต้องได้จากผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทน 100% ให้บรรลุเป้าหมายในปี ..2020 หรือ ปี ..2563

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จึงรณรงค์ประชาสัมพันธ์จัดหาผู้บริจาคโลหิตเชิงรุก โดยใช้กลยุทธ์การจัดหาโลหิตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้หาโลหิตได้เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย

5 ทศวรรษศูนย์บริการโลหิต

จะเห็นได้ชัดเจนจากตัวเลขการจัดหาโลหิตโดยสภากาชาดไทย ย้อนหลัง 20 ปี จากปี 2542-2561 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 400,000 ยูนิต เป็น 1.09 ล้านยูนิต ในภาพรวมทั่วประเทศการรับบริจาคโลหิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันในเวลา 19 ปี จาก 1.3 ล้านยูนิต เป็น 2.6 ล้านยูนิต ในขณะเดียวกัน ความต้องการโลหิตของผู้ป่วยมีแนวโน้ม เพิ่มได้ขยายศักยภาพการจัดหาโลหิตเพื่อ ช่วยสนับสนุนโรงพยาบาลในต่างจังหวัดทั่วประเทศ

โดยการจัดตั้งภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และงานบริการโลหิต ในจังหวัดใหญ่ๆ 13 แห่ง ให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการโลหิตแบบครบวงจร และเป็นมาตรฐานเดียวกันกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และมีการขยายการรับบริจาคโลหิตไปยังจังหวัดใกล้เคียง สนับสนุนการจัดหาโลหิตให้แก่สาขาบริการโลหิต โรงพยาบาลในเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น

5 ทศวรรษศูนย์บริการโลหิต

นอกจากการจัดหาโลหิตแล้ว ยังมีการพัฒนางานด้านต่างๆ อาทิ ด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี การตรวจคัดกรองโลหิตบริจาค, จัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมาขึ้นเป็นแห่งแรกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ .บางพระ .ศรีราชา .ชลบุรี

ผลิตถุงบรรจุโลหิตระบบดิจิตอลที่ทันสมัย เรียกว่า Quadruple blood bag top & bottom system เครื่องเชื่อมถุงบรรจุโลหิตอัตโนมัติ สามารถเพิ่มกำลังการผลิตถุงบรรจุโลหิตจากเดิม ผลิตได้ประมาณ 350 ใบต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ ประมาณ 700 ใบต่อชั่วโมง, ผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิต, ผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า(HRIG) และเซรุ่มป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี (HBIG)

5 ทศวรรษศูนย์บริการโลหิต

การผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา

5 ทศวรรษศูนย์บริการโลหิต

โลหิตบริจาค

ด้านการให้บริการเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต หรือ Stem Cell สามารถดำเนินงานด้านคุณภาพในการจัดหาผู้บริจาคสเต็มเซลล์ จนประสบความสำเร็จมีผู้ลงทะเบียนเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันมีอาสาสมัครลงทะเบียนบริจาค Stem Cell 241,238 ราย มีจำนวนผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรอการปลูกถ่าย Stem Cell 1,941 ราย และมีจำนวนผู้บริจาค Stem Cell ให้ผู้ป่วย 321 ราย

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นำระบบสารสนเทศ Hematos IIG มาใช้บริการโลหิต

จากผลสำเร็จของการดำเนินภารกิจตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมาและเป็นต้นแบบการดำเนินงานบริการโลหิตของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงได้รับการแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์บริการโลหิตประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (WHO Collaborating Centre for Training in Blood Transfusion Medicine) ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ..2547 อย่างต่อเนื่องจวบจนถึงปัจจุบัน

ในโอกาสวาระ 50 ปี หรือ 5 ทศวรรษ แห่งการสถาปนาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ในวันที่ 13 ตุลาคม ..2562 พร้อมแล้วที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานบริการโลหิตมุ่งสู่เป้าหมาย ความ เป็นเลิศด้านวิชาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในอนาคตได้วางแผนการดำเนินงานที่สำคัญทั้งใน ด้านของการจัดหาโลหิต จะต้องรณรงค์กลุ่มเยาวชน คนรุ่นใหม่ให้เกิดความตระหนักว่าการบริจาคโลหิตเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม มีการนำ Social Media ที่ทันสมัยมาใช้ในการสื่อสารเพื่อให้เข้าถึงและตอบสนองความต้องการของผู้บริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น

ขณะเดียวกันต้องพัฒนาการให้บริการควบคู่กันไป ทั้งในด้านของการให้บริการมีการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเจาะเก็บโลหิต ร่วมกับราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย เน้นหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพในระดับการกำกับดูแลและด้านวิชาการ

และด้านเทคโนโลยี จะมีการนำเครื่องมืออัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพ ความแม่นยำสูงสุด และการใช้น้ำยาตรวจวิเคราะห์ที่ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของโลหิตที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน