สวทช.เผย 2 นวัตกรรมสื่อการเรียน

ชุดสกัดดีเอ็นเอ-แอพฯผันวรรณยุกต์

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า

สวทช.เผย 2 นวัตกรรมสื่อการเรียนชุดสกัดดีเอ็นเอ-แอพฯผันวรรณยุกต์ – ชุดสกัดเก่งหรือชุดสกัดดีเอ็นเอภาคสนาม พัฒนาโดยอาจารย์นักวิจัยจากมหา วิทยาลัยพะเยา และแอพพลิเคชั่นเรียนรู้อักษรสามหมู่ สำหรับนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พัฒนาโดยอาจารย์นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สองผลงานตัวอย่างในกลุ่มนวัตกรรมสื่อการเรียนที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการ THAILAND TECH SHOW โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

สวทช.เผย 2 นวัตกรรมสื่อการเรียนชุดสกัดดีเอ็นเอ-แอพฯผันวรรณยุกต์

ดร.ธนพัฒน์ และชุดสกัดดีเอ็นเอภาคสนาม

ดร.ธนพัฒน์ แพ่งเกษร อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดเผยว่า นวัตกรรม “ชุดสกัดเก่ง (ชุดสกัดดีเอ็นเอภาคสนาม)” ทดแทนเครื่องสกัด DNA ในท้องตลาดที่ต้องอาศัยเครื่องปั่นเหวี่ยงความเร็วสูง จุดนี้ทำให้เป็นข้อจำกัดที่บางโรงเรียนหรือบางมหาวิทยาลัยที่ไม่มีเครื่องนี้จะไม่สามารถสกัด DNA ได้ แม้ในหลายๆ มหาวิทยาลัยจะมีเครื่องตัวนี้ แต่มีจำนวนน้อย เด็กก็จะไม่ได้ทดลองกันทั้งห้องหรือทุกคน เพื่อลดความยุ่งยากในการใช้เครื่องนี้ให้เหลือแค่ตัวหลอดสกัด เรียกว่าสกัดเก่ง เพียงเติมตัวอย่างลงไปในหลอด แล้วเติมน้ำยาที่จะเข้าไปช่วยในการแตกเซลล์ เรียกว่า “น้ำยาแตกเก่ง” จากนั้นเขย่าหลอดไปมา ช่วงนี้ DNA ที่อยู่ในนิวเคลียสและภายในเซลล์จะแตกออกเข้าสู่สารละลาย

สวทช.เผย 2 นวัตกรรมสื่อการเรียนชุดสกัดดีเอ็นเอ-แอพฯผันวรรณยุกต์

ถัดไปคือการเติมน้ำยาจับเก่ง เพื่อที่ว่า DNA ที่อยู่ในสารละลายจะถูกจับไปอยู่กับเม็ดบีตที่อยู่ในหลอดสกัดเก่ง ตามด้วยการดูดทุกอย่างที่เป็นส่วนเกินทิ้งไปจนเหลือเพียง DNA ที่เกาะอยู่บนเม็ดบีต และเพื่อให้แน่ใจจึงต้องใช้น้ำยาล้างเก่ง ชะล้างเอาส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ขั้นสุดท้ายคือการล้วง DNA ออกมาด้วยน้ำยาล้วงเก่ง ทำให้ได้ DNA ที่สะอาด และเพียงพอสำหรับนำไปวิเคราะห์หรือทดลอง ประโยชน์ที่ได้คือนักศึกษาจะได้ทดลองเรียนและทำเองทุกคนโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือชั้นสูง รวมถึงยังลดต้นทุนด้วย สนใจสอบถามโทร. 0-5446-6666 ต่อ 3714

สวทช.เผย 2 นวัตกรรมสื่อการเรียนชุดสกัดดีเอ็นเอ-แอพฯผันวรรณยุกต์

ดร.ปาวีณา และแอพฯ อักษรสามหมู่

ด้าน ดร.ปาวีณา ดุลยเสรี คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดเผยถึง “นวัตกรรม Mobile App เรียนรู้อักษรสามหมู่” ผลงานพัฒนาโดย ดร.มูนีเร๊าะ ผดุง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ว่า เด็กสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เข้มแข็งทางภาษา การผันวรรณยุกต์ทำได้ยากมาก ปัญหาแท้จริงแล้วอยู่ที่การพูดภาษาไทยไม่ได้หรือพูดไม่ชัดเพราะผันวรรณยุกต์ไม่ได้ แอพฯ ตัวนี้จะมีนิยามของรูปวรรณยุกต์ที่มี 4 รูป 5 เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา บอกว่าคืออะไร มีเกมให้เล่น มีเสียงให้ฟัง เหมาะสำหรับเด็กระดับประถมศึกษา นำไปใช้จริงแล้วในพื้นที่ โดยอาจจะเหมาะกับเด็กที่ออกไปนอกเมืองสักหน่อย เกมที่ให้เล่นเด็กจะรู้สึกสนุกขึ้น เช่น ปลา ให้เลือกเติมต่อด้วยเสียงว่า เกา หรือ เก๋า ที่ควรนำมาคู่กัน ถ้าตอบผิดจะลากวางศัพท์ลงไม่ได้ แอพฯ จะสอนให้แยกได้ว่าอะไรคือเสียงสูง ต่ำ กลาง รวมถึงเสียงคำเป็นคำตายซึ่งมีผลต่อการพูดและการสื่อสารที่เข้าใจตรงกัน เพื่อต่อยอดการศึกษาในชั้นสูงต่อไป ดาวน์โหลดใช้งานฟรีทั้งในระบบ iOS และ Android สอบถามโทร. 0-7329-9628 ต่อ 71000

สวทช.เผย 2 นวัตกรรมสื่อการเรียนชุดสกัดดีเอ็นเอ-แอพฯผันวรรณยุกต์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน