เพลงชาติไทย (ตอนแรก)

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

โดย น้าชาติ ประชาชื่น

เพลงชาติไทย – ส..คนหนึ่งเสนอให้ยกเลิกเพลงชาติที่ร้องกันอยู่ทุกวันนี้ ทำไมหรือครับ ขอความเป็นมาเพลงชาติไทยด้วย

นายอิน

ตอบ นายอิน

..คนดังกล่าวระบุว่า เพลงชาติไทยไม่มีเนื้อหาเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ กล่าวถึงเฉพาะทหารกับประชาชนเท่านั้น

เพลงชาติไทย เป็นชื่อเพลงชาติของสยามก่อนเปลี่ยนนามเป็นประเทศไทย ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) กำเนิดในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คำร้องฉบับแรกสุดโดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังในปีเดียวกัน ต่อมาได้แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้ง กระทั่งเปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ .. 2482

เพลงชาติไทย

ย้อนไปสมัยสยามปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้ใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงถวายความเคารพองค์พระมหากษัตริย์ตามธรรมเนียมสากล แม้เพลงดังกล่าวไม่ใช่เพลงชาติของประเทศอย่างเป็นทางการ แต่ก็ถืออนุโลมว่าเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยตามหลักดังกล่าว ต่อมาเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คณะราษฎรประกาศใช้ เพลงชาติมหาชัย

ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่ และที่สุดก็ใช้เพลงฉบับที่แต่งทำนองใหม่โดยพระเจนดุริยางค์เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี

เพลงชาติไทย เพลงชาติไทย

เกี่ยวกับทำนองเพลงชาติ พระเจนดุริยางค์เขียนบอกเล่าเบื้องหลังไว้ในหนังสือชีวประวัติของท่านว่า แรกเริ่มเดิมทีมีสหายร้องขอให้แต่งทำนอง ซึ่งท่านก็ตอบสนองให้ แต่ขอให้ปิดชื่อผู้แต่งเป็นความลับ อย่างไรก็ตาม เกิดความแตกจนกลายเป็นเรื่องใหญ่โตทีเดียว เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ท่านนั้น คือ หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา)

พระเจนดุริยางค์บันทึกไว้ว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อ .. 2475 ท่านพบกับสหายที่รู้จักสนิทสนมกันมาก่อน สหายท่านนี้เองเป็นผู้กระซิบร้องขอให้ประพันธ์เพลงให้บทหนึ่ง ให้ทำนองคล้ายกับเพลงชาติฝรั่งเศสที่เรียกกันว่า “La Marseillaise”

ในช่วงเวลานั้นมีเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่แล้ว ซึ่งพระเจนดุริยางค์คิดว่าไม่จำเป็นต้องมีเพลงชาติอีกก็ได้ แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 2475 แล้วเพื่อนท่านนี้ (เป็นหนึ่งในคณะราษฎรด้วย) ก็มาร้องขอให้รีบจัดการประพันธ์ให้ โดย อ้างว่าเป็นประสงค์ของคณะผู้ก่อการ

จากบรรยากาศในช่วงเวลานั้น พระเจนดุริยางค์ยอมรับว่าปฏิเสธได้ยากจากสภาพการเมืองช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่ยังร้องขอให้ปกปิดชื่อผู้ประพันธ์ไว้ โดยย้ำกำชับหลายครั้ง แต่การรายงานข่าวของสื่อมวลชนในเวลานั้นกลับปรากฏข่าวเรื่องการทดลอง ฟังบรรเลงทำนองเพลงที่ประพันธ์ใหม่อันเหมาะสมจะเป็น เพลงชาติได้ โดยมีชื่อของพระเจนดริยางค์กำกับตอนท้ายว่าเป็น ผู้ประพันธ์

เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่เพียงทำให้พระเจนฯ โกรธเดือดดาล ยังทำ ให้เกิดบรรยากาศคุกรุ่นด้วย โดยพระเจนฯ เล่าว่า ท่านถูกเจ้า พระยาวรพงศพิพัฒน์ (หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง แต่ตำแหน่งนี้ถูกยกเลิกภายหลัง .. 2480) เรียกเข้าพบด่วน และถูกตวาดใส่หน้าถามเหตุผลการประพันธ์เพลง

ท้ายที่สุดพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในครั้งนั้น รีบชี้แจงไปยังกระทรวงวังเรื่องการประพันธ์นี้ว่าเป็นดำริของท่านและสมาชิกสภาร้องขอมายังพระเจนฯ ท่านไม่ได้แต่งขึ้นเองโดยปราศจากสาเหตุนำมาก่อนแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่ได้หมายความว่าจะนำขึ้นเป็นเพลงชาติ และไม่ได้หมายถึงการลบล้างเพลงสรรเสริญพระบารมี

ส่วนเนื้อร้องของเพลงชาติ คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่งขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2475 เนื่องจากมีการค้นพบโน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว

แม้เพลงนี้จะได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป แต่ไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ เป็นการจดจำต่อๆ กันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาชัดเจน ดังปรากฏว่ามีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ เมื่อ .. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่งด้วย

ฉบับพรุ่งนี้ (12 ..) อ่านกันต่อถึงเรื่องเนื้อร้องเพลงชาติสยาม

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน