ค่ายนักวิทย์พิชิตภัยพิบัติปลูกฝังเยาวชนรักษ์โลก

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า

ค่ายนักวิทย์พิชิตภัยพิบัติ – สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ (ACM) จัดกิจกรรมมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ตอน นักวิทย์ พิชิตภัยพิบัติแก่นักเรียนชั้นประถมปลาย จำนวนกว่า 100 คนจากทั่วประเทศ สนับสนุนการจัดกิจกรรมโดยโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต

ค่ายนักวิทย์พิชิตภัยพิบัติ

นักวิทย์พิชิตฝุ่นจิ๋ว

ค่ายนักวิทย์พิชิตภัยพิบัติ

โดยจัดเป็นกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์แบบเช้าเย็นกลับในช่วงที่เด็กๆ นักเรียนปิดเทอม โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และพี่เลี้ยงนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก คอยดูแลให้คำแนะนำระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมด้วยตนเอง

เริ่มต้นจากการให้ความรู้ในเรื่องรักษ์สิ่งแวดล้อม รักษ์ปะการัง ผ่านกิจกรรมนักวิจัยพิทักษ์ รักษ์ปะการัง นำโดยพี่ๆ คณะนักวิจัยศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ที่มาให้ความรู้ผ่าน 2 ฐานกิจกรรม

ได้แก่ ฐานเรียนรู้โครงสร้าง DNA ของปะการัง ให้เด็กๆ รู้ว่าโครงสร้างและองค์ประกอบของดีเอ็นเอเป็นอย่างไร รวมถึงฝึกทักษะประกอบโครงสร้างดีเอ็นเอในรูปแบบโมเดลกระดาษ

ค่ายนักวิทย์พิชิตภัยพิบัติ

ประดิษฐ์ภาชนะกู้โลก

ฐานที่ 2 ฐานการสกัด DNA ของสิ่งมีชีวิต สาธิตวิธีการสกัดดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าทำไมเราต้องศึกษา DNA ของปะการัง โดยให้เด็กๆ เรียนรู้วิธีการสกัดดีเอ็นเอด้วยตนเองจากดอกไม้หรือใบไม้ต่างๆ เริ่มต้นจากการทำให้เซลล์แตกด้วยการบด จากนั้นแยกดีเอ็นเอออกจากเซลล์ และทำให้ดีเอ็นเอตกตะกอนรวมกันเป็นเส้นใยแขวนลอยอยู่ในสารละลายด้านบน

อีกหนึ่งหัวข้อในกิจกรรมครั้งนี้คือนักวิทย์ พิชิตฝุ่นจิ๋วให้เด็กๆ ทำความเข้าใจฝุ่นจิ๋ว PM2.5 จาก ดร.วรล อินทะสันตา ผู้อำนวยการ กลุ่มวิจัยวัสดุผสมและการเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช.

ตั้งแต่ที่มาและพิสูจน์ว่าจะสามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์และทำลายสุขภาพเราได้หรือไม่อย่างไร ก่อนไปรู้จักหน้ากากจากเส้นใยนาโนพร้อมเรียนรู้ว่าหน้ากากชนิดต่างๆ เหมาะที่จะใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

ตามด้วยฐานกิจกรรมนักวิทย์ พิชิตฝุ่นจิ๋ว โดยพี่ๆ ทีมนักวิจัยและประชาสัมพันธ์นาโนเทค เด็กๆ รับบทเป็นนักสืบหาหลักฐานว่าเส้นใยหลายประเภท ที่จะได้เจอนั้น อันไหนคือเส้นใยนาโน ก่อนทดลองทำหน้ากากจำลอง ปิดท้ายด้วยการระดมสมองที่เด็กๆ ช่วยกันหาวิธีป้องกันการเกิดฝุ่น PM2.5

อีกฐานกิจกรรมที่จัดคู่ขนานกัน คือฐานกิจกรรมประดิษฐ์ภาชนะ กู้โลกจากวัสดุธรรมชาติ นำโดย .นงลักษณ์ เล็กรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และคณะ โดยให้เด็กๆ ทดลองทำภาชนะจากใบไม้ต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น เช่น ใบตอง ใบจำปี ใบมะตาด หยวกกล้วย

โดยใช้แป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียวที่มีคุณสมบัติเป็นกาว เพื่อความปลอดภัยเมื่อนำไปใช้เป็นภาชนะใส่ของรับประทาน เด็กๆ ยังได้ร่วมกันทำกระทงใบตองจากเครื่องอัดกระทงใบตอง ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนิสิตและอาจารย์จากภาควิชาโครงงานวิศวกรรมเกษตร ทำให้ได้กระทงใบตองที่ปราศจากวัสดุมีคม เช่น ไม้กลัดหรือลูกแม็ก

ค่ายนักวิทย์พิชิตภัยพิบัติ

น้องไอโฟน

ค่ายนักวิทย์พิชิตภัยพิบัติ

น้องแสนดี

น้องไอโฟน ..อาทมาฎ พึ่งอำพล ชั้น .4 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ เผยว่ารู้สึกสนุกสนาน ได้เรียนรู้เรื่องฝุ่นและการทำภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งรู้วิธีการใช้ผ้าปิดปากให้ถูกต้องตามสิ่งที่เราเจอ ถ้ามีฝุ่นก็ใช้ผ้าปิดปากเพื่อกันฝุ่น ถ้าไม่สบายก็ใช้ผ้าปิดปากอนามัย

ด้าน น้องแสนดี ..กตัญญุตา สุวรรณปัฏนะ ชั้น .6 โรงเรียนธรรมภิรักษ์ บอกว่าได้รับความรู้มากมาย ทั้งเรื่องปะการังฟอกขาว เรื่อง DNA เรื่องฝุ่น PM2.5 หรือการนำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นจานเพื่อลดการใช้โฟมที่เป็นอันตรายต่อตัวเรา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน