วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ

คอลัมน์ สดจากเยาวชน

วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ – “บ้านผมมีหาดทราย เดินไปก็นุ่มสบาย แล้วก็มีน้ำใส เย็นสบาย เล่นได้ทุกวันครับ”

วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ

ประมงเงียบเหงา

 

วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ

เด็กๆ ช่วยกันขุดร่องน้ำ

 

เด็กๆ บ้านน้ำไพร ต.สังคม อ.สังคม จ.หนองคาย ชวนกันมาเล่นน้ำ เอาทรายถมตัว และวิ่งไล่จับริมแม่น้ำโขงเป็นกิจวัตรหลังเลิกเรียน เด็กๆ ติดใจหาดทรายขาว แต่ผู้ใหญ่ข้องใจทำไมปลาหาย น้ำแห้งมากขึ้นทุกวัน

แม่น้ำโขงในความทรงจำของผู้ใหญ่ที่หลานๆ ยังไม่เคยเห็นช่างแตกต่างกับภาพที่เห็นตอนนี้จนน่าตกใจ หาดทรายขาวโพลน ก้อนหินขนาดใหญ่ น้ำใสไร้ตะกอน และสันดอนทรายกลางแม่น้ำโขงหลายสิบกิโลเมตร คือสิ่งสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและวิถีชีวิตคนติดโขงที่กำลังเปลี่ยนไป

วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ

ความสุขยังมี

 

วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ

แม่น้ำโขงวันนี้

 

แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตผู้คนริมสองฝั่งมาอย่างยาวนาน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลามากกว่า 1,100 ชนิด จึงถือเป็นแหล่งน้ำและแหล่งโปรตีนที่สำคัญของผู้มีชีวิตติดโขง เมื่อมีการสร้างเขื่อนในประเทศจีนและลาวจึงส่งผลให้ระดับน้ำผันผวน ระดับน้ำในแม่น้ำโขงไม่ได้เพิ่มสูงตามฤดูกาล จึงไม่มีน้ำท่วมหลากสองฝั่งตลิ่ง ลำน้ำสาขา และพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำให้ตะกอนแร่ธาตุตามริมฝั่งไม่ได้ถูดพัดพาตามระบบธรรมชาติ เมื่อน้ำใสไหลตื้นเห็นตัวปลาและปลาก็มองเห็นตาข่ายที่กำลังจะครอบตัวพวกมัน ชาวประมงจึงจับปลาได้ยากขึ้น และปลาหลายชนิดลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย พวกมันขาดแหล่งอาหาร

วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ

หาดทรายขาวริมโขง

 

“เกิดที่นี่โตที่นี่ กับน้ำนี่ก็ชินอยู่แล้ว คุ้นเคยกับมันอย่างดี แต่ปีนี้แล้งมากกว่าทุกปี การหาอยู่หากิน การรดน้ำการเกษตรมันก็ไกลหน่อย และก็การหาอยู่หากินไปมาก็ไม่สะดวก เพราะว่าก้อนหินเยอะ เวลาชนก้อนหินตอนกลางคืนมันลำบาก เราทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องค่อยปรับไปเรื่อยๆ” บัวรด ชาวเขา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านน้ำไพร บอกเล่าความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงที่คุ้นเคยแต่ตอนนี้เริ่มไม่คุ้นชิน

วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ

ลุงบัวรด ชาวประมง

 

วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ

ป้าร่วม ชาวสวน

 

อรัญญา รุณระวงศ์ หรือป้าร่วมของเด็กๆ ขอเป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ

“น้ำแห้งก็หาปลายาก ไปวางไซก็ไม่ค่อยได้ปลา เมื่อก่อนเคยหาได้เยอะมาก เกือบ 10-20 กิโลกรัม พอหาตอนนี้ก็ได้ประมาณ 1 กิโลกรัม บางครั้งก็แทบจะไม่ได้เลย ได้สองสามตัวประมาณนี้ ไม่พอขายแค่กินก็ไม่พอด้วยซ้ำ ตอนนี้ปลูกผัก ปลูกยาสูบก็ต้องขุดร่องผันน้ำเข้ามาและใช้เครื่องสูบน้ำขึ้นมาใช้”

เด็กๆ ผูกพันกับแม่น้ำโขงเหมือนเป็นสนามเด็กเล่นขนาดใหญ่ จะเล่นสนุกอย่างไรก็ได้ ส่วนผู้ใหญ่ผูกพันกับแม่น้ำโขงเหมือนเป็นห้องครัวที่มีอาหารมากมายเลี้ยงครอบครัวก็ได้ ขายก็ทำเงิน ในตอนนี้เกิดวิกฤตน้ำแห้ง แต่ทุกคนไม่ควรแล้งน้ำใจ ผู้ใหญ่ไหว้วานขอแรงให้เด็กช่วยขุดร่องน้ำ เด็กๆ ก็ช่วยกันทั้งขุดทั้งเล่นสนุกอย่างขยันขันแข็ง เด็กๆสนุกสนาน หัวเราะ ยิ้มกว้าง ผู้ใหญ่ก็ยิ้มอ่อน ค่อยคิด ค่อยปรับความเป็นอยู่ให้เหมาะสมกับธรรมชาติ

น้ำโขงเคยไหลล้นหล่อเลี้ยงคนริมฝั่ง เหลือแต่ฝั่งสูงและหาดทรายขาว นั่งมองใกล้ก็ไม่เห็นการณ์ไกลว่าต่อไปน้ำจะไหลหลากเช่นในอดีตหรือไหลตื้นจนเห็นดิน แต่ด้วยความผูกพันกับสายน้ำไหลนี้ เด็กๆ และผู้ใหญ่มีความปรารถนาเดียวกัน ทุกคนมีความหวังเช่นเดียวกับ ดิว เวหา วงศ์มหาเทพ เด็กชายอายุ 12 ปี ที่เกิดริมโขง โตริมโขง และอยากมองเห็นแม่น้ำโขงอุดมสมบูรณ์อย่างที่พ่อแม่เคยเล่าให้ฟัง

วิถีชีวิต‘ติดแม่โขง’วิกฤตน้ำแห้งบ่แล้งน้ำใจ

ดิว เด็กน้อยริมโขง

 

“น้ำโขงมีประโยชน์หลายอย่าง เป็นน้ำดื่มให้วัว ใช้รดน้ำผัก ช่วยหากิน ในอนาคต ผมอยากให้ที่นี่อุดมสมบูรณ์ครับ อยากให้มีน้ำเยอะๆ เพราะปลาจะได้มีที่อยู่ มันจะได้วางไข่ มีอาหารให้หากิน และเราจะได้มีน้ำใช้เยอะกว่านี้ครับ”

พบกับเรื่องราววิถีชีวิตริมโขงที่เปลี่ยนแปลงตามสายน้ำโขง ผ่านรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็กๆ ในรายการทุ่งแสงตะวัน ตอนชีวิตติดโขง ในวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2563 เวลา 05.05 น. ทางช่อง 3 กด 33 ติดตามข่าวสารได้ทางแพนเพจทุ่งแสงตะวัน

ณัฐริยา โสสีทา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน