ดอยตุงรักษ์โลกสร้างคนอยู่กับป่า

ดอยตุงรักษ์โลกสร้างคนอยู่กับป่า – “ดอยตุง” ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลิตสินค้าหัตถกรรมจากชุมชนโดยใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จึงพิจารณามอบโล่รางวัลสัญลักษณ์ G Green Production ประเภทเซรามิก ระดับดีเยี่ยม และประเภทสิ่งทอ ระดับดีเยี่ยม เพื่อรับรองว่าดอยตุงมีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กล่าวว่า จากการที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงมีพระราชปณิธานสร้างโอกาส พัฒนาชาวไทยภูเขาที่ขาดต้นทุนชีวิต

ดอยตุงรักษ์โลกสร้างคนอยู่กับป่า

ด้วยการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิต ต่อยอดสู่การสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ยกระดับคุณภาพด้วยการพัฒนาป่าและคน โดยมีโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) ตามพระราชดำริ เป็นต้นแบบภายใต้แบรนด์ “ดอยตุง”

ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามตำราแม่ฟ้าหลวง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติตามแนวคิดคนอยู่กับป่าอย่างเป็นมิตร การพัฒนาธุรกิจควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแทรกอยู่ในทุกขั้นตอนการผลิตนี้

ป็นที่มาของรางวัล G Green Production เพราะไม่ว่าจะเป็นโรงงานทอผ้าที่อยู่ภายใต้แบรนด์ดอยตุง ใส่ใจตั้งแต่วัตถุดิบที่เลือกใช้ในงานทอเป็นเส้นใยฝ้ายประหยัดน้ำหรือ Better Cotton ซึ่งใช้ทรัพยากรน้ำน้อยกว่าในการเพาะปลูก เส้นใยเหล่านี้นำมาย้อมสีด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น

เช่น คราม ดอกทองกวาว หัวหอม กาแฟ หรือฮ่อม เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก่อนถักทอเป็นผ้าบนกี่แบบดั้งเดิมด้วยฝีมือผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน

ดอยตุงรักษ์โลกสร้างคนอยู่กับป่า

เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนตัดเย็บหากเหลือเศษผ้าจะนำมาแปรรูปใส่ความคิดสร้างสรรค์กลายเป็นของใช้ชิ้นเล็ก เช่น พวงกุญแจ หรือใช้ประดับตกแต่งลวดลายสินค้าต่อไป เศษผ้าและเศษด้ายจะนำไปเผาพร้อมกับกะลาแมคคาเดเมียเพื่อใช้เป็นพลังงานในการต้มน้ำร้อนสำหรับกระบวนการต้ม ฟอก และย้อมผ้า

ส่วนน้ำเสียจากโรงย้อมผ้าจะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียใช้รดน้ำต้นไม้ต่อไป ด้านการบรรจุหีบห่อจะใส่ลงในถุงซิปล็อก ห่อกระดาษและถุงกระดาษ ถือเป็นการรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก ถุงซิปล็อกที่ใช้งานแล้วจะส่งกลับมายังโรงทอเวียนกลับมาใช้งานอีกครั้ง

ด้านกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับโรงงานเซรามิก ใส่ใจในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเลือกดินหลากชนิดมาผสมกัน ปั้นหรือเทลงแบบพิมพ์กลายเป็นภาชนะต่างๆ การอบแห้งและเผาพร้อมชุบเคลือบด้วยหินแร่เพื่อให้เกิดสีที่แตกต่างกันออกไป ถึงแม้เซรามิกจะไม่สามารถรีไซเคิลได้

ดอยตุงรักษ์โลกสร้างคนอยู่กับป่า

ทางดอยตุงหาวิธีนำชิ้นส่วนเหล่านี้ไปบดเป็นผง ผสมดินในอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อขึ้นรูปใหม่หรือใช้เป็นส่วนผสมในการทำพื้นถนนเพื่อทดแทนการใช้ทรัพยากรอื่นๆ การช่วยกันคิดค้นหาทางออกใหม่ๆ ไม่ใช่เพียงไอเดียของผู้บริหารและนักออกแบบเท่านั้น แต่การคิดค้นในหลายๆ ครั้งยังเกิดจากชาวบ้านที่ปฏิบัติงานและเล็งเห็นปัญหา

ทั้งนี้ กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมย่อมมาพร้อม ขั้นตอนมากมายที่เพิ่มขึ้น ในอนาคตมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และแบรนด์ดอยตุง จึงพยายามสร้างความตระหนักรู้ให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของความไม่สะดวกสบายทั้งหลายว่า เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก ผ่านแฮชแท็ก #InconvenientIsneccessary ติดตามอัพเดตเรื่องราวงานพัฒนาคนและธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนที่ www.maefahluang.org

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน