เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

อีริก อเบลสัน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตน ฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ศึกษาตัวอย่างสัตว์กว่า 1,650 ตัวจาก 160 สปีชีส์แตกต่างที่พบในอเมริกา ตั้งแต่สัตว์ขนาดจิ๋วอย่างหนูเรื่อยไปจนสัตว์ขนาดใหญ่ รวมถึงควายป่า จนพบว่าเมื่อเทียบอัตราส่วนของร่างกายแล้ว สัตว์ที่มีสมองขนาดใหญ่ มีความเสี่ยงสูญพันธุ์มากกว่าสัตว์ที่มีสมองขนาดเล็ก โดยปัจจัย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบสมองที่มีความซับซ้อน และขนาดใหญ่ ต้องใช้พลังงานเยอะ ยิ่งขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ก็ต้องการสาร อาหารและแร่ธาตุไปหล่อเลี้ยงมากขึ้นเท่านั้น สวนทางกับทรัพยากรธรรมชาติที่นับวันมีแต่จะลดน้อยลง

สัตว์สมองใหญ่ อาทิ แมวเสือออนซิลลา สุนัขจิ้งจอกหมู่เกาะชาแนล และแร็กคูนปิ๊กมี่ จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูญพันธุ์ขององค์กรระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) นั่นเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน