ผลวิจัยเผยว่าเด็กส่วนใหญ่ได้กลืนไมโครพลาสติกนับล้านต่อวันจากขวดนมพลาสติก ปกติแล้วคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะนิยมล้างขวดนมพลาสติกด้วยน้ำร้อนเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค แต่รู้ไหมว่าการฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนนั้นอาจทำให้ขวดนมปล่อยไมโครพลาสติกออกมาและอาจเกิดการสะสมในร่างกายของเด็กๆได้

หัดให้ลูกเลิกขวดนมมาดื่มนมจากแก้วอย่างไรดี

ขวดนมที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่นั้นทำมาจากพลาสติกประเภท พอลิโพรไพลีน มากถึง 82 เปอร์เซ็นต์ สารพลาสติกดังกล่าวเป็นประเภทที่ย่อยสลายได้ยาก นอกจากจะปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ยังตกค้างในร่างกายได้ด้วย นักวิจัยได้เผยว่าการที่เราเตรียมอาหารหรือนมผงด้วยพลาสติกพอลิโพรไพลีนจะทำให้มีสารปนเปื้อนออกมาหลายล้านเท่าเมื่อเทียบปริมาณกับน้ำหนึ่งลิตร

การเลือกขวดนม และจุกนมที่คุณแม่ควรรู้ | theAsianparent Thailand

องค์การอนามัยโลกชี้ 'ไมโครพลาสติก' ในน้ำดื่มยังไม่เป็นอันตราย

จากผลสำรวจจากกรมอนามัยโลกพบว่าผู้ใหญ่บริโภค 300-600 ไมโครพลาสติกต่อวัน ซึ่งตอนนี้นักวิทยาศาตร์หลายคนได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้และกำลังศึกษาเพื่อหาหนทางแก้ไขอย่างรวดเร็วที่สุด โดยไมโครพลาสติกที่มีอนุภาคใหญ่จะถูกขับถ่ายออกมาในรูปแบบของของเสีย แต่ไมโครพลาสติกอนุภาคเล็กกลับถูกซึมเข้าไปในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ปัจจุบันมนุษย์เราวนเวียนอยู่กับสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำมาจากพลาสติกตลอดเวลา Prof Oliver Jones จาก มหาวิทยาลัย RMIT ได้ออกมาเผยว่าการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกนั้นเป็นเพียงการคาดการณ์ ไม่ใช่การชี้วัด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลหรือรู้สึกแย่ที่ใช้ขวดพลาสติกแต่ทว่าการวิจัยนี้เป็นการสร้างแรงกระตุ้นเพื่อให้เห็นถึงความอันตรายของก็ใช้พลาสติกมากกว่า

5 สิ่งที่ควรรู้ก่อน เลือกขวดนมให้ลูก

ผลการวิจัยนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยาสาร เนเจอร์ ฟูด ที่เหล่านักวิจัยได้ทำการทดลองหาไมโครพลาสติกในขวดนม 10 ประเภทและทำการฆ่าเชื้อในน้ำร้อน 90 องศา ชงนมผงในน้ำร้อน 70 องศา ผลปรากฏว่ามีไมโครพลาสติกออกมาจำนวนมหาศาลและมีขนาดเล็กเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ด้วยซ้ำไป

ภัยเงียบใกล้ตัว! “ไมโครพลาสติก” จากสัตว์น้ำ สู่อาหารของมนุษย์ - Chiang Mai News

มีการสำรวจไมโครพลาสติกกับยี่ห้อนมผงเด็กใน 48 พื้นที่ทั่วโลก พบว่าเฉลี่ยแล้วเด็กทารกส่วนใหญ่ได้รับไมโครพลาสติก 1.6 ล้านอนุภาคต่อวัน โดยประเทศสหรัฐฯและออสเตรเลียพบว่าเป็นประเทศที่ได้รับไมโครพลาสติกเยอะที่สุดเฉลี่ย 2 ล้านอนุภาคต่อวัน

10 สิ่งที่ควรรู้หากต้องให้ลูกกินนมจากขวด

นักวิจัยจึงแนะนำว่าเหล่าคุณแม่ควรงดการต้มภาชนะที่เป็นพลาสติก นอกเหนือจากนี้วิธีชงนมผงที่ดีที่สุดคือต้มน้ำยาฆ่าเชื้อในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติกหลังจากนั้นให้ล้างขวดนมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และล้างขวดนมด้วยน้ำเย็นให้สะอาดเป็นจำนวน 3 รอบ เมื่อเสร็จแล้วให้ชงนมผงในภาชนะที่เป็นแก้วและหลังจากที่ปล่อยให้นมมีอุณหภูมิที่เย็นลงแล้วค่อยรินใส่ขวดนมที่เป็นพลาสติก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณไมโครพลาสติกได้เป็นจำนวนหลายล้านอนุภาค นักวิจัยหลายท่านกำลังเรียกร้องนโยบายในบริษัทขวดนมและนมผงออกคำแนะนำใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนการทำความสะอาดและขั้นตอนการชงนมแบบใหม่เพื่อป้องกันไมโครพลาสติกตกค้างในร่างกายมนุษย์

 

ขอขอบคุณ phys.org

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน