“รถเมล์” หรือ “รถประจำทาง” เป็ยวิธีการเดินทางที่คนส่วนใหญ่ใช่บริการมากที่สุด เนื่องจากมีราคาที่ถูก และสามารถเข้าถึงได้หลายพื้นที่ วันนี้ทางทีมข่าวสดจะพาไปส่องรถประจำทางจากประเทศอื่นๆกัน

รถประจำทางเขตปกครองพิเศษฮ่องกง จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แบบแรกเป็นรถเมล์คันใหญ่มีทั้งแบบชั้นเดียวและ 2 ชั้น โดยคนฮ่องกงจะนิยมใช้ Octopus Card หรือที่เรียกกันว่าตั๋วปลาหมึก ซึ่งเป็นบัตรเติมเงินโดยสารแทนการใช้เงินสด

ส่วนแบบที่ 2 คือรถเมล์คันเล็กหรือ มินิบัสเป็นรถ 16 ที่นั่ง และหากมีผู้โดยสารเต็มคันรถมินิบัสจะไม่จอดรับผู้โดยสารเพิ่มจนกว่าจะมีคนลงและมีที่นั่งว่าง ซึ่งถ้าใครไปฮ่องกงก็อาจจะงงหน่อยนะ ถ้าไม่เก่งภาษาจีนแนะนำให้เดินทางด้วยรถไฟฟ้าจะสะดวกกว่าจ้า

รถประจำทางประเทศเกาหลีใต้ จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ รถประจำทางด่วนพิเศษเส้นทางไกล รถเมล์ประเภทนี้จะเชื่อมต่อระหว่างกรุงโซลและสถานที่สำคัญทั้งหมดของเกาหลี ประเภทที่2 คือ รถประจำทางในเมืองเป็นรถบัสที่วิ่งให้บริการภายในตัวเมือง ตามสถานที่รถไฟฟ้าใต้ดินเข้าไปไม่ถึงโดยค่าโดยสารจะอยู่ที่ 850 วอน หรือราวๆ 23 บาท

รถประจำทางประเทศญี่ปุ่น ขึ้นชื่อเรื่องความสะอาดและตรงเวลา ค่าโดยสารรถเมล์ที่ญี่ปุ่นคือจะมีราคาเดียวตลอดสาย โดยรถประจำทางที่ญี่ปุ่นจะจอดทุกป้ายเลย เราไม่จำเป็นต้องออกไปยืนโบกให้เมื่อยแขน ส่วนคนญี่ปุ่นนั้นก็มีวัฒนธรรมที่ว่าต้องรอให้รถจอดสนิทก่อนแล้วค่อยลุกเพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุนั่นเอง

รถประจำทางประเทศออสเตรเลีย รถเมล์ในซินีย์จะเป็นรถชั้นเดียว จ่าค่าโดยสายผ่านบัตรเติมเงินสด Opla Card ส่วนเรื่องมารยาทการต่อคิวที่นี่ถือว่าสำคัญมาก และห้ามขึ้นรถทางประตูหลังเด็ดขาดเพราะนั่นคือการแซงคิว

รถประจำทางประเทศอังกฤษ รถบัสสองชั้นสีแดงคันใหญ่ ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศอังกฤษมาอย่างยาวนาน ทุกป้ายรถประจำทางจะมีเวลาบอกว่าคันต่อไปจะมาเมื่อไหร่ และมีแผนที่บอกทางละเอียดยิบไม่ต้องกลัวหลง ประตูรถมีสองฝั่ง แยกเป็นทางขึ้นกับทางลง คนที่นี่เค้าจะใช้บัตร Oyster Card ในการเดินทาง

 

ในแต่ละที่เราหยิบยกมานั้นจะสามารถใช้บัตรโดยสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบัตรแบบนี้จะใช้ได้กับขนส่งมวลชนทุกชนิด ทั้งรถไฟใต้ดิน เรือ รถประจำทาง ซึ่งในประเทศไทยตอนนี้กำลังทดสอบระบบ E-Ticket หรือบัตรแมงมุม ปัจจุบันบัตรแมงมุมสามารถใช้ได้ในรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง AirportrailLink รถเมล์บางส่วน (ทดลอง 2,600 คัน) แต่ยังไม่สามารถใช้กับ บีทีเอส ได้ ซึ่งคาดการว่าบัตรแมงมุมจะครอบคลุมระบบขนส่งมวลชนภายในปี 2564 นี้

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน