สุดเจ๋ง! นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ คิดค้นแผงโซลาร์เซลล์ จากเศษผักเหลือทิ้ง ที่สามารถดูดรังสียูวีเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ก่อนคว้ารางวัลนวัตกรรมยั่งยืนเป็นคนแรก

รางวัล James Dyson เป็นรางวัลที่เปิดโอกาศให้กับนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ที่จะสร้างสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง และเพิ่มความน่าเชื่อถือเพื่อการประกอบอาชีพต่อในอนาคต และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้ คาร์วี่ เอเรน ไมกวี นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ชาวฟิลิปปินส์ ได้คว้ารางวัลชนะเลิศรางวัล James Dyson Awards สาขา Sustainability Award จากผลงาน “AuReus” แผงโซลาร์เซลล์จากเศษผักที่สามารถเปลี่ยนรังสียูวีเป็นพลังงานได้

แผงโซลาร์เซลล์ของหนุ่มคนนี้ต่างจากแผงโซลาร์เซลล์แบบเดิม ที่มักจะทำงานเฉพาะในสภาวะที่มีแสงจ้า มองเห็นได้ชัด และต้องเผชิญกับแสงแดดโดยตรง แผงแบบใหม่ของเขาทำมาจากวัสดุที่โปร่งแสงสามารถดูดพลังงานจากรังสียูวี ที่มองไม่เห็นผ่านก้อนเมฆ หรือจากรังสียูวี ที่สะท้อนออกมาจากตึก ถนน และกำแพงรอบข้างได้

การทดสอบในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า “Aereus” สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 50 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด เมื่อเทียบกับ 15-22 เปอร์เซ็นต์ที่แผงโซลาร์มาตรฐานทั่วไปผลิตออกมา ซึ่งแสงที่เข้ามาพวกนี้จะถูกจับ และแปลงเป็นไฟฟ้าด้วย เซลล์โฟโตวอลเทอิก (Photovoltaic) เช่นเดียวกับที่พบในแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป และจะสามารถจัดเก็บเป็นพลังงาน หรือใช้ได้ทันทีด้วยความช่วยเหลือของแผงวงจรควบคุมไฟฟ้า

คาร์วี่กล่าวว่า “ด้วยวิธีนี้ มันสามารถอยู่เดี่ยว ๆ หรือสามารถเชื่อมต่อเป็นกลุ่มเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังสามารถรวมเข้ากับระบบโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอยู่ได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากกำลังไฟฟ้าของมันเหมาะสำหรับระบบดังกล่าวด้วยเช่นกัน”

AuReus มีชื่อมาจาก ออโรร่าโบเรียลิส หรือ แสงเหนือนั่นเอง ซึ่งแสงเหนือมีอนุภาคเรืองแสงในชั้นบรรยากาศ ที่จะดูดซับอนุภาคพลังงานสูงเช่นรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีแกมมาก่อนที่จะสลายตัวและส่งกลับมาเป็นแสงที่มองเห็นได้ ซึ่ง AuReus ก็เป็นเช่นเดียวกัน เพียงแต่ใช้อนุภาคเรืองแสงที่ได้จากพืชผลทางการเกษตรที่เหลือทิ้ง โดยการดึงอนุภาคเรืองแสงออกจากผัก และผลไม้บางชนิด ผ่านกระบวนการบด และสกัดน้ำผลไม้ก่อนจะนำมากรองกลั่นหรือแช่

ก่อนที่จะนำมาผสมให้เข้ากันกับเรซิน พิมพ์ขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะมีความทนทาน โปร่งแสง และสามารถขึ้นรูปเป็นหลายรูปร่างหลายสี ทำให้สามารถเป็นทั้งวัสดุตกแต่งอาคาร และกรองรังสียูวี ที่จะเข้าตัวอาคารได้ในเวลาเดียวกัน

ไอเดียนี้มาจากการที่ผลผลิตของฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศที่รุนแรง ทำให้เกษตรกรสูญเสียผลผลิตไปมากจากสถานการณ์นี้ เขาเลยคิดว่าแทนที่จะปล่อยให้พืชผลเน่า ทำไมไม่นำมันมาใช้ประโยชน์ และหลังจากทดสอบพืชในท้องถิ่นเกือบ 80 ชนิด คาร์วี่พบว่ามีพืช 9 ชนิดที่มีศักยภาพสูงสำหรับการใช้งานในระยะยาว ทั้งยังใช้ประโยชน์จากแหล่งขยะที่ไม่ได้ใช้ และช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากผลผลิตที่สูญเสียไป

“ด้วยวิธีนี้จะทำให้ให้ผู้คนเห็นว่ากเราสามารถปรับตัว เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมันจะสร้างประโยชน์ให้กับคนรุ่นปัจจุบัน และอนาคต” ทั้งนี้ในอนาคตคาร์วี่กำลังมองหาวิธีที่เขาสามารถพัฒนาวัสดุของเขา เพื่อใช้ติดตั้งนอกเหนือจากหน้าต่างและผนัง เขาตั้งใจจะนำสิ่งนี้ไปติดได้ทั้งที่ผ้า และฝังลงในรถยนต์ เรือและเครื่องบิน

ที่มา : dezeen

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน