นักวิทยาศาสตร์ตะลึง! เมื่อผลสรุปงานวิจัยได้ค้นพบว่า จระเข้เด็กหรือวัยรุ่นที่สูญเสียหางไป สามารถงอกหางใหม่ได้ เหมือนจิ้งจก ตุ๊กแก

สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กเช่นกิ้งก่า จิ๊กจก หรือตุ๊กแก เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีความสามารถพิเศษในการงอกหาง ซึ่งเป็นทักษะในการเอาชีวิตรอดเฉพาะตัว แต่ปรากฎว่าสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้ไม่ใช่สัตว์เพียงชนิดเดียวที่สามารถงอกอวัยวะใหม่ได้เท่านั้น

เมื่อผลสรุปการวิจัยที่ถูกเผยแพร่ลงเว็บไซต์ Scientific Reports วารสารทางวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งได้ทำนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนาและกรมสัตว์ป่า และการประมงหลุยเซีย ตกตะลึงไปตามๆกัน เมื่อในจระเข้เด็ก และจระเข้วัยรุ่น มีความสามารถสามารถในการงอกหางใหม่ของตัวเองได้มากถึง 9 นิ้ว หรือเพิ่มขึ้นถึง 18% ของความยาวลำตัวของพวกมัน ตามการศึกษาใหม่ในการรายงานทางวิทยาศาสตร์

ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคนิคการถ่ายภาพขั้นสูงร่วมกับวิธีการทดสอบตามเวลา ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ และการจัดเนื้อเยื่อ จนพบว่าหางที่งอกของจระเข้มีโครงกระดูกอ่อน ซึ่งคุณสมบัติทั้งการฟื้นฟู และการซ่อมแซมบาดแผล

โดยปกติแล้วจระเข้ไม่สามารถตัด ปล่อย หรือทิ้งอวัยวะของตัวเองออกได้เมื่อถูกคุกคาม จระเข้มักสูญเสียแขนขา หรือหางจากการต่อสู้ ซึ่งคุณสมบัติในการงอกใหม่ในหางยังแตกต่างจากโครงสร้างของหางดั้งเดิมและวิธีการงอกใหม่ของสัตว์อื่น ๆ

“โครงกระดูกที่งอกใหม่ถูกหุ้มด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และผิวหนัง แต่ไม่ปรากฎกล้ามเนื้อ” เคนโระ คูซูมิ นักเขียนรายงานการวิจัยร่วม และผู้อำนวยการชีววิทยาศาสตร์ ASU กล่าว พร้อมเสริมว่า แม้หางงอกใหม่จะไม่มีกล้ามเนื้อ แต่มันย่อมมีความสำคัญต่อสัตว์นักล่าขนาดใหญ่เช่นพวกมัน เพราะส่วนหางโดยเฉพาะช่วงโคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า “บ้องตัน” ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว ส่วนปลายหางที่แบนยาวใช้โบก และเคลื่อนไหวในน้ำ

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยยังระบุว่า การทำความเข้าใจข้อจำกัดดังกล่าวของจระเข้ อาจช่วยในการพัฒนาบำบัดฟื้นฟู และเยียวยาในมนุษย์ พร้อมใช้ประโยชน์เพื่อช่วยเหลือคนที่ต้องสูญเสียอวัยวะหรือเหยื่อแผลไฟไหม้ ทั้งนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาต่อไป และคงยังไม่ใช่ในอนาคตอันใกล้นี้

ที่มา : nydailynews

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน