เป็นที่รู้กันดีว่ามนุษย์เป็นสัตว์ขี้สงสัย ที่มักต้องข้อสงสัยต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว โดยเรื่องราวในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ในเว็บไซต์ Reddit ได้มีผู้ใช้นามว่า u/MrWaterplant ได้ถามคำถามที่น่าสนใจออกมาว่า “ถ้าพลังงานจลน์สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนได้ ผมต้องตบไก่แรงแค่ไหนกว่าไก่จะสุก?”

แม้ว่าคำถามของเขาอาจจะดูประหลาดและแปลกไปสักนิด แต่คำถามที่เขาถามมานั้นก็ไม่ได้ไร้สาระ และกลับมีคำตอบในทางฟิสิกส์ เพราะนักฟิสิกส์นาม ปาร์คเกอร์ ออร์มอนเด ได้ออกมาให้คำตอบสำหรับคำถามดังกล่าวว่า “สามารถคำนวณโดยใช้สมมติฐานสองสามข้อสูตรสำหรับการแปลงระหว่างพลังงานจลน์และพลังงานความร้อน”

เคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องกินไก่งวง ในค่ำคืนวันคริสต์มาส

“โดยเฉลี่ยมือของมนุษย์มีน้ำหนักประมาณ. 4 กก การตบครั้งหนึ่งมีความเร็วเฉลี่ย 11 เมตร / วินาที ไก่งวงดิบมีน้ำหนัก 1 กก. และมีความร้อนจำเพาะ 2,720 จูลต่อกิโลกรัม*เซลเซียส ดังนั้นหากจะทำไก่ให้สุกในเพียงครั้งเดียว เราจะต้องตบไก่ด้วยความเร็ว 1,665.56 เมตรต่อวินาที

แต่ทว่าการตบไก่ด้วยความเร็ว 1,665.56 เมตรต่อวินาที นั้นมันจะทำให้ไก่ระเบิด และจะทำให้กระดูกแขนของผู้ที่ตบนั้นแตกเป็นเสี่ยงๆ ก่อนที่จะตามมาด้วยเลือดที่ไหลออกมาอย่างมหาศาล แน่นอนว่าคงไม่มีใครยอมที่จะเสียอวัยวะของตนเองเพื่อทำการทดสอบนี้เป็นแน่ จึงมี การจำลองการตบ ออกมาโดยใช้ซอฟต์แวร์จำลอง ที่ใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อจำลองปรากฏการณ์ทางกายภาพใด ๆ ในเทคนิคเชิงตัวเลข

ทำให้ออร์มอนเดได้เสนอไว้อีกหนึ่งแนวทาง เขาได้กล่าวว่า “ไก่จะสุกได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในอุณหภูมิสูงถึง 205 องศาเซลเซียส ซึ่งการตบไก่หนึ่งครั้งจะทำให้อุณหภูมิไก่เพิ่มขึ้น 0.0089 °C ฉะนั้นเราจะต้องตบไก่ประมาณ 23,034 ครั้ง เพื่อทำให้ไก่สุก ซึ่งการมานั่งตบไก่เองคงไม่มีใครมานั่งตบไก่ด้วยตัวเอง ชาวเน็ตจึงเริ่มประดิษฐ์เครื่องตีไก่ เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าวกันอย่างมากมาย

How Many Slaps does it Take to Cook a Chicken? - YouTube

อย่างไรก็ตามหากการตบของเราจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนในไก่เมื่อได้รับการกระทบนั้น ซึ่งในความจริงแล้วข้อสันนิษฐานดังกล่าวยังไกลจากความเป็นจริงมาก เพราะด้วยพลังงานจลน์เพียงเล็กน้อยจากมือเราที่ถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนจริง จะต้องมีค่าความร้อนที่สูงกว่านี้ที่จะทำให้ไก่สามารถสุกได้ ทั้งนี้แล้วหากใครที่จะนำไปทดลอง ก็ควรระมัดระวัง และไม่ควรนำไก่ที่ทำการทดลองมากิน เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการอาหารเป็นพิษ

ที่มา : iflscience

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน