“โรคยากซับซ้อน” เป็นโรคที่พบได้น้อย แม้กระทั่งแพทย์เองก็ไม่สามารถวินิจฉัยโรคนั้นได้อย่างถูกต้อง จนนำไปสู่ความยากลำบากในการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เพราะโรคยากซับซ้อนนั้นไม่เพียงแต่จะมีความซับซ้อนของตัวโรคเท่านั้น หากยังมีความซับซ้อนในกระบวนการตรวจวินิจฉัย จึงต้องใช้ทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญค่อนข้างสูง เพื่อให้การรักษานั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งในงานเสวนา “MedPark Value Challenge and Experience” ณ Collaboration Center ชั้น 10 โรงพยาบาลเมดพาร์ค (Medpark) เมื่อวันที่ 1 เมษายน ก็ได้มีคณะผู้บริหารโรงพยาบาลเมดพาร์ค ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางชั้นแนวหน้าของเมืองไทย มาถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมองเรื่องโรคยากซับซ้อนและแนวคิดการยกระดับการบริการทางการแพทย์สู่ระดับเวิลด์คลาสไว้ได้อย่างน่าสนใจ พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์เพื่อการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลเป็นครั้งแรก เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาพรวมทั้งหมดของโรงพยาบาลฯ ที่ก่อตั้งโดยทีมแพทย์ จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง

“ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์สู่ระดับเวิลด์คลาส”

ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ ในฐานะผู้อำนวยการโรงพยาบาลและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวว่า ปัญหาการให้บริการทางการแพทย์ในกลุ่มโรคยากซับซ้อนในประเทศไทยนั้นยังมีข้อจำกัด ซึ่งยังขาดในส่วนของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ จึงได้ร่วมพูดคุยกับแพทย์เฉพาะทางระดับแถวหน้าของเมืองไทย สู่ความร่วมมือจนเกิดเป็น ‘โรงพยาบาลเมดพาร์ค’ ด้วยระยะเวลาเพียง 2 ปีครึ่งเท่านั้น

“ผมใฝ่ฝันว่าอยากเห็นโรงพยาบาลมาตรฐานระดับเวิลด์คลาสเกิดขึ้นที่ประเทศไทย มุ่งหวังให้เป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยโดยเฉพาะโรคยากซับซ้อนทั้งผู้ป่วยในไทยและต่างประเทศ จึงร่วมมือกับทีมแพทย์เกิดเป็นโรงพยาบาลเมดพาร์ค โรงพยาบาลระดับ 5 ดาวแห่งแรกและแห่งเดียวของเมืองไทย ที่ช่วยยกระดับการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยสู่ระดับโลก และได้มีการวางแผนการพัฒนาโรงพยาบาลฯ ไว้แล้วในอีก 10 ปีข้างหน้า”

ภายในงานมีการเปิดด้วย Opening Show โดยคุณดลชัย บุณยะรัตเวช นักสร้างแบรนด์แถวหน้าของเมืองไทยที่ให้เกียรติมาโชว์เสียงอันทรงพลังในเพลง ‘One Moment in Time’ ของ วิทนี่ ฮุสตัน โดยให้เหตุผลในการเลือกเพลงที่นำมาโชว์ในวันนี้ว่าได้แรงบันดาลใจมาจากการร่วมสร้างกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งให้กับโรงพยาบาลเมดพาร์คนั่นเอง

ลำดับต่อมาเป็นการฉายภาพยนตร์สั้นเพื่อการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลฯ ทั้ง 3 ชุด โดยแต่ละชุดแสดงให้เห็นถึงที่มาของการที่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลเมดพาร์ค

ภาพยนตร์ชุดแรกชื่อว่า “What if…?” ที่ชวนคนไทยมาตั้งคำถามในสิ่งใกล้ตัวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น เหมือนกับเมดพาร์คที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์ในปัจจุบัน จนสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเดิมๆ ผู้ป่วยสามารถพบทางเลือกใหม่ ซึ่งเป็นอีกขั้นของมาตรฐานการรักษา เพื่อการรักษาที่เต็มประสิทธิภาพ โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์แถวหน้าของเมืองไทย

ภาพยนตร์ชุดที่สอง “MedPark Formula” สัมผัสมุมมองใหม่ของการรักษา เล่าถึงเบื้องหลังการทำงานของทีมแพทย์ภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเหมือนอยู่ที่บ้าน มอบความเป็นกันเองให้กับผู้ป่วย แต่บุคลากรทางการแพทย์ก็ยังต้องสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด “เพราะเราเชื่อว่าทุกรายละเอียดมีผลต่อการรักษาผู้ป่วย”

ภาพยนตร์ชุดสุดท้าย คือ “Crafted by Doctors” ตอกย้ำถึงจุดยืนและเป้าหมายของเมดพาร์ค บอกเล่าถึงแนวคิดการทำงานของทีมแพทย์ในคอนเซ็ปต์ “Integrated Care” คำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยบุคลากรทางการแพทย์ทุกภาคส่วนจะทำงานร่วมกันเพื่อรักษาผู้ป่วย 1 เคสให้ดีที่สุด ตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาล

“การพัฒนาที่แตกต่าง เพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์สู่อนาคต”

นอกจากนี้ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “MedPark Value Challenge and Experience” โดยทีมแพทย์เฉพาะทางแถวหน้าของเมืองไทย ซึ่งถือว่าเป็นไฮไลท์สำคัญของงาน มาร่วมตอกย้ำจุดยืนการก่อตั้งโรงพยาบาลเมดพาร์คตั้งแต่แรกเริ่มคู่กับ ศ.นพ.สิน นั่นคือ นพ.พงพัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค

ซึ่ง นพ.พงพัฒน์ ได้สรุปให้เราฟังถึงช่วงเวลาที่โรงพยาบาลเมดพาร์คเปิดดำเนินการมาแล้วกว่า 6 เดือนว่า นับตั้งแต่วันเปิดตัว มียอดผู้ป่วย OPD สูงถึง 115% และมีผู้ป่วยไอซียู 30% แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเมดพาร์คที่มีความเชี่ยวชาญและความมุ่งมั่นในการให้บริการ ตอลดจนสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถดึงดูดผู้ลงทุนหลายภาคส่วนให้มาร่วมสร้างมาตรฐานการรักษาระดับเวิลด์คลาสแก่ประเทศไทยและอาเซียน เพื่อแก้ปัญหาจากการที่เรามีบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคยากซับซ้อนไม่เพียงพอ

“เมดพาร์คเป็นโรงพยาบาลที่มีแนวคิดให้บุคลากรทางการแพทย์ร่วมมือกันเพื่อการรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีศักยภาพ เพื่อขับเคลื่อนวงการสาธารณสุขไทยสู่ความเป็นผู้นำในอาเซียน”

ด้าน รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยาและต้อหิน เผยว่า ตนเองมักเปลี่ยนวิธีการรักษาผู้ป่วยเป็นประจำ ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ของเมดพาร์ค คือ Redefine (สร้างนิยามใหม่)

จาก สถิติของ กสทช. เผยว่าคนไทยเล่นสมาร์ทโฟนติดต่อกันเป็นระยะเวลานานขึ้นต่อวัน ทำให้สาตาเสื่อมลงและมีโรคแทรกซ้อนจนอาจเกิดต้อกระจก ซึ่งปัจจุบันการรักษาต้อกระจกไม่เพียงเอาเลนส์ขุ่นออกและเอาเลนส์ใหม่ใส่เข้าไป “การออกแบบสายตาให้คนไข้หลังทำต้อกระจก” โดยใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในการผ่าตัดต้อกระจกอย่างมีประสิทธิภาพจากโณงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน

“สำหรับผมแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วย การรักษาผู้ป่วยให้ตรงกับสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการได้มากที่สุด นั่นคือปณิธานของผม”

ขณะที่ นพ.บัณฑิต สุนทรเลขา ศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านการผ่าตัดส่องกล้อง กล่าวว่า ภายใน 6 เดือนที่โรงพยาบาลเปิดทำการ เราได้ทำการผ่าตัดศัลกรรมโดยการส่องกล้องไปแล้วกว่า 58 ราย เคสที่ถือเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจของการผ่าตัดคือ การรักษาโรคเยื่อบุลำไส้ที่ตายและโรคมะเร็งใยช่องท้องจนหายขาด ปัจจุบันผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเป็นเพราะการใช้เทคโนโลยีในการรักษาที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทยเข้ามาช่วยในการรักษาผู้ป่วย จึงทำให้มีอาการดีขึ้นเป็นลำดับนั่นเอง

“เปรียบเหมือนกับผมเป็นนักฟังเพลง เรารู้ว่าแอมป์เราดี แต่ถ้าเราไม่มีลำโพงที่ดี เสียงก็จะไม่มีวันเพราะ การรักษาผู้ป่วยก็เช่นกัน”

ฟากของ ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้ความเห็นในการเสวนาครั้งนี้ว่า ด้วยโรงพยาบาลเมดพาร์คมุ่งเน้นการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคยากซับซ้อน โดยการรวบรวมประสบการณ์การรักษาและบุคลากรทางการแพทย์ที่ดีที่สุด เพื่อสามารถดูแลคนไข้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการรักษาโรคหัวใจทุกรูปแบบ ทุกแขนง ทั้งแพทย์ทำบอลลูนขยายหัวใจ แพทย์ตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ แพทย์ผ่าตัดหัวใจ ฯลฯ

“หากเรามีเครื่องมือพร้อมและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ โรงพยาบาลเมดพาร์คจะก้าวสู่อันดับ 1 ของศูนย์โรคหัวใจทั้งในไทยและอาเซียนได้ไม่ยาก”

ปิดท้ายการเสวนาด้วยการพูดถึงการควบคุมคุณภาพอากาศภายในโรงพยาบาล โดย ผศ.นพ.มนต์เดช สุขปราณี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อว่า โรงพยาบาลเมดพาร์คมีระบบโครงสร้างที่ได้มาตรฐานและมีการตรวจสอบปัญหาของระบบได้แบบเรียลไทม์ ทั้งระบบควบคุมคุณภาพของอากาศและอุณหภูมิภายในห้องต่างๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดูแลและแก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหาได้อย่างทันถ้วงที ตลอดจนมาตรการป้องกันความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานใกล้ผิดกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อร้ายแรงในไอซียู ซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดค่อนข้างสูง การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันในระยะเวลาที่รวดเร็วส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

“ผมอยากตีแผ่ให้เห็นถึงแนวคิดเพื่อการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วยขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะเชื่อว่าชีวิตผู้ป่วยมีค่าทุกวินาที”


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน