คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

คําว่า ธง ในพจนานุกรมสถาปัตยกรรมของ ผศ.โชติ กัลยาณมิตร แปลว่า ผืนผ้าสีที่ใช้เป็นเครื่องหมายของหมู่คณะหรือบุคคล หรือใช้เพื่อหมายให้รู้ในการใดการหนึ่ง

คำว่า ตุง แปลว่า ธง ในภาษาพูดของชาวเหนือ
3

ธงหรือตุง ที่ใช้ในทางพุทธศาสนาเป็นสัญลักษณ์ที่ทำขึ้นด้วยความมุ่งหมายเป็นพุทธบูชา คงจะมีชื่อตามวัสดุและรูปแบบที่ใช้ เช่น ตุงกระด้าง เป็นตุงที่ทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปพญานาคเลื้อยพันกันสำหรับบูชาพระ ทำได้เฉพาะกษัตริย์เท่านั้น

ตุงไชย เป็นตุงที่ทำด้วยเชือกห้อยรอยต่อกัน มีลักษณะเป็นคติจักรวาล หรือพุทธเกษตร

2

ตุงห้อย เป็นตุงที่ทำด้วยผ้าต่อกันเป็นชิ้น ติดตั้งบูชาพระพุทธเจ้าในพระอุโบสถหรือวิหาร

ส่วน ตุงสามทาง มิใช่สัญลักษณ์ของการบูชาพระพุทธ เจ้า หากเป็นสัญ ลักษณ์ของความตายบุคคลทั่วไป

ในคติฝ่ายเถรวาทในประ เทศไทยนั้น ธงนอกจากจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของการบูชาพระพุทธ เจ้า ยังใช้ธงในสัญลักษณ์อื่นอีก 2 ประการ คือ ในฐานะ LANDMARK หรือจุดเด่นสะดุดตา หรือเครื่องหมาย แห่งความสำคัญของพื้นที่นั้น

ในอีกสัญลักษณ์หนึ่ง ตุงห้อย หมายถึง บันไดที่เชื่อมสวรรค์กับโลกมนุษย์ โดยมีความหมายถึงบันไดที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ เมื่อขึ้นไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต

ในฝ่ายมหายาน เรียกธงชนิดหนึ่งว่า ธงมนต์ ซึ่งภายในธงจะมีคาถาหรือคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือบทสวดมนต์ หรือภาพของพระโพธิสัตว์หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งที่มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนิกชน นอกจากนี้ ในการติดตั้งธงมนต์ของฝ่ายมหายานโดยเฉพาะวัชรยานหรือมนตรายานนั้น

หากติดธงมนต์ที่บ้านก็เพื่อความสุขจะเกิดขึ้นจากการสะบัดของธงที่ต้องลมพัด ซึ่งจะเท่ากับเป็นการสวดมนต์ ขับไล่สิ่งชั่วร้าย และนำความสุขสมบูรณ์มาสู่บ้าน หากติดตั้งไปตามภูเขา ป่าไม้ ก็เป็นการแสดงถึงความสำคัญของพื้นที่ ลมที่พัดมนต์จะพัดเอาคาถาหรือความเมตตาของเทพในธงนั้นไปบันดาลความสุขให้กับผู้ติดตั้งธงนั้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน