คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ดร.ดีย์ทริช โอเบอร์ จากมหาวิทยาลัยคริสเตียน อัลเบรกต์ ประเทศเยอรมนี ค้นพบว่า หนอนกระดืบๆ สายพันธุ์ ‘ซินนาบาร์ มอธ’ หรือ ‘ผีเสื้อกลางคืนปีกดำแดง’ มีวิธีป้องกันตัวขั้นเทพ ด้วยการกินดอก ‘แร็กวอร์ต’ ดอกไม้ป่าสีเหลืองสด พบมากในที่ราบลุ่มทุ่งหญ้าเขตยูเรเชียระหว่างรอยต่อของทวีปเอเชียและยุโรป ที่แม้ดอกไม้บอบบางจะดูสวยงาม แต่กลับเต็มไปด้วยพิษอัลคาลอยด์ร้ายแรง ขนาดศัตรูจอมเขมือบยังต้องโบกมือลาขออยู่ห่างๆ เพราะไม่อยากปวดท้องจนตาย

แน่นอนว่า ‘เจ้าหนอนซินนาบาร์’ เอง ก็ต้องโดนพิษเพชฌฆาต หลังกินดอกแร็กวอร์ตเข้าไป แต่เอนไซม์อัจฉริยะในกระเพาะจิ๋วๆ ของพวกมันกลับย่อยสารพิษให้เปลี่ยนเป็นสารอาหารได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังทำให้หนอนซินนาบาร์มีสีสันสดใสแบบแมลงมีพิษ แม้ว่ากลิ่นตัวก็เหม็นหึ่งและรสชาติยอดแย่จนไม่มีสัตว์ตัวไหนอยากเข้าใกล้ก็ตาม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน