คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทย

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ระฆังในวัดมีไว้เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการประกาศวาระของการทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเข้าพรรษา จะมีการตีระฆังในช่วงเช้ามืดประมาณ 04.00 – 04.30 น. เพื่อปลุกพระ เณร มาทำวัตรเช้าคือ การสวดมนต์ และจะตีอีก 2 ครั้งในตอน 08.00 น. และ 16.00 น. เพื่อส่งสัญญาณ ให้พระทำวัตรเช้าและเย็น (ทำวัตร แปลว่าการทำกิจ กรรมอันเป็นปกติ หมายถึงการสวดมนต์ เรียกว่า ทำวัตรสวดมนต์)
3
การตีระฆังแบบนี้เป็นการตีแบบปกติ แต่ในความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง หมายถึงสัญญาณชัยชนะกิเลส ที่เกิดขึ้นจากการสวดมนต์ โดย จะตีแบบ 3 ลา คือ มีการเน้นจังหวะตีจากช้า รัวไปจนถึงเร็วมาก นอกจากนี้ในวันปกติจะตีระฆังเวลา 11.00 น. เพื่อบอกเวลาฉันเพล คือ ก่อนเที่ยง ในทางความเชื่อเรื่องเสียงระฆัง เชื่อกัน ในอดีตว่าถ้าโลกนี้ไม่มีเสียงระฆัง (หมายถึง ไม่มีศาสนา) แล้วจะมียักษ์มากินมนุษย์ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ที่กล่าวมาแล้ว วัดในพระพุทธศาสนา (ฝ่ายเถร วาท) จึงต้องสร้างหอระฆังเพื่อใช้ประโยชน์ตามข้างต้น

ส่วนในพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน) จะใช้เสียงระฆังเป็นสัญญาณของจังหวะสวดมนต์ และใช้เสียงระฆังเป็นฐานของการฝึกสมาธิ ปัญญา

เนื่องจากการตีระฆังเป็นการให้สัญญาณที่ต้องการให้ได้ยินไปไกลที่สุดทั่วกัน หอระฆัง ในวัดจึงมักจะก่อสร้างเป็นอาคารสูงมียอดแหลมเหมือนเรือนยอด และมักจะตั้งอยู่ใกล้โบสถ์หรือวิหาร
3
ในแนวทางออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีคติทางไตรภูมิกถา หรือจักรวาลทัศน์ หอระฆังจึงมีสถานะเป็นภูเขา หรือส่วนหนึ่งของสัตตบริภัณฑ์ด้วย ที่ล้อมรอบ เขาพระสุเมรุ หรืออันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล คือพระอุโบสถ หรือวิหาร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน