โรงเรียนในชุมชนชนบทส่วนใหญ่มักจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่มาก แต่ได้รับความไว้วางใจจากพ่อแม่ผู้ปกครองเพราะอยู่ใกล้บ้าน เกิดอะไรขึ้นกับลูกหลานก็ดูแลได้ใกล้ชิด ครูและผู้ปกครองรู้จักกัน ฝากฝังให้ดูแลว่ากล่าวตักเตือนเสมือนเป็นลูกหลานของตัวเอง

สดจากเยาวชน - สุขขนาดเล็ก 11เด็กนักเรียน

โรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์งาม

โรงเรียนขนาดเล็กจึงมีบรรยากาศอบอุ่น เด็กนักเรียน คุณครู และชุมชนสนิทชิดเชื้อ สอดส่องเป็นหูเป็นตา ช่วยดูแลเด็กๆ ลูกหลานกันทั้งชุมชน ดังคำกล่าวว่า “เลี้ยงเด็กหนึ่งคน ใช้คนทั้งหมู่บ้าน”

แต่ยุคนี้แต่ละครอบครัวมีบุตรหลานน้อยลง โรงเรียนในชุมชนและในชนบทไกลๆ จึงมีจำนวนนักเรียนบางตา บางโรงเรียนอาจจะมีนักเรียนเพียงหลักสิบ หากมองแง่การปกครอง จัดสรรงบประมาณว่าเป็นการสิ้นเปลือง เกิดการย้าย ยุบ รวม ถ่ายโอนนักเรียนจำนวนนั้นให้ไปเรียนร่วมกับโรงเรียนขนาดใหญ่ในเมืองหรืออีกหมู่บ้าน

สดจากเยาวชน - สุขขนาดเล็ก 11เด็กนักเรียน

ความสุขขนาดเล็ก

 

แง่มุมที่ถูกลืมไปก็คือเด็กๆ ต้องห่างไกลบ้าน เดินทางไกล ต้องปรับตัวให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมต่างถิ่นต่างที่ เมื่อไปอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ ครูประจำชั้นดูแลไม่ทั่วถึง ไม่เข้าใจพื้นฐานครอบครัวของเด็กๆ แต่ละคน ทำให้ความสุขในการไปโรงเรียนค่อยๆ ลดลง พ่อแม่ก็ต้องเพิ่มความเป็นห่วงมากขึ้น ค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางก็เพิ่มขึ้น

การใช้ปริมาณของนักเรียนหรือคะแนนของเด็กๆ เป็นตัวชี้วัดไม่ได้เป็นผลสัมฤทธิ์ในการศึกษา ความสุขในการเรียนรู้ต่างหากที่เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กๆ อยากไปโรงเรียน รักที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างเบิกบาน

สดจากเยาวชน - สุขขนาดเล็ก 11เด็กนักเรียน

มีหน้าที่รับผิดชอบตั้งแต่อนุบาล

สดจากเยาวชน - สุขขนาดเล็ก 11เด็กนักเรียน

ดูแลแปลงผัก

 

“อยากมาโรงเรียนทุกวันเลย”

“เรียนสนุก ครูใจดี”

“เด็กๆ สนิทกันทั้งโรงเรียน ได้เล่น ทำกิจกรรมด้วยกัน”

เสียงเจื้อยแจ้วของเด็กๆ เมื่อถามถึงความรู้สึกที่มีต่อโรงเรียนขนาดเล็กจิ๋วของพวกเขา

โรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์งาม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โรงเรียนนี้มีนักเรียนทั้งหมด 11 คน คุณครูข้าราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน และครูธุรการอีก 1 คน นอกจากนี้ยังมีครูอาสาซึ่งเป็นผู้ใหญ่ใจดีในชุมชน บางคนก็เป็นศิษย์เก่ารุ่นบุกเบิก แวะเวียนกันมาดูแลโรงเรียน ตัดหญ้า ตกแต่งกิ่งไม้ ซ่อมแซมอาคาร อีกทั้งยังช่วยถ่ายทอดบทเรียนให้ลูกๆ หลานๆ

สดจากเยาวชน - สุขขนาดเล็ก 11เด็กนักเรียน

ปักผ้าสไบมอญ

 

สุวิมล ขนคม หรือ ป้ามล ของเด็กๆ บอกว่า “เรียนที่นี่รุ่นแรกๆ เลย ประมาณปี 2520 ตอนนี้ก็เป็นหนึ่งในกรรมการสถานศึกษา แล้วก็มาช่วยสอนเด็กๆ ปักผ้าสไบมอญ ชุมชนเราเป็นคนไทยรามัญ อยากให้เด็กๆ ได้รู้จักไว้”

ถึงจะมีจำนวนนักเรียนเพียง 11 คน แต่วิถีทางของโรงเรียนขนาดเล็กแห่งนี้ยังคงแน่วแน่ชัดเจน การเรียนการสอนที่เข้าถึงและเข้าใจ เกิดผลต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอย่างชัดเจน ส่งผลให้การเรียนดี มีประสิทธิภาพไม่เป็นรองใคร เน้นวิชาการ แต่ก็ไม่ลืมส่งเสริมทักษะชีวิตอันหลากหลาย

สดจากเยาวชน - สุขขนาดเล็ก 11เด็กนักเรียน

ครูดูแลทั่วถึง

สดจากเยาวชน - สุขขนาดเล็ก 11เด็กนักเรียน

คนน้อยแต่สนุก

 

ครู นักเรียน และชาวบ้านยังคงช่วยกันหนุนนำ ดูแลโรงเรียน ดูแลลูกหลาน

เอมวดี คงเพิ่ม เด็กหญิงเนม ชั้นประถม 4 เล่าว่า “ตอนหนูอยู่อนุบาลมีเด็กนักเรียนมากกว่า 11 คน โรงเรียนเคยคึกคักกว่านี้ แต่ว่าตอนนี้ก็ไม่เหงานะคะ เพราะเวลาเล่นเราก็เล่นด้วยกันทั้งโรงเรียนเลย (หัวเราะ) พอมีเด็กนักเรียนน้อยๆ ครูก็สอนได้ทั่วถึงทุกคน เวลาหนูไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามครูได้ตลอดเวลา พอเรียนเข้าใจ มันก็สนุกค่ะ อยากมาโรงเรียน”

สดจากเยาวชน - สุขขนาดเล็ก 11เด็กนักเรียน

น้องปิ่น ป.2

สดจากเยาวชน - สุขขนาดเล็ก 11เด็กนักเรียน

เด็กหญิงเนม

 

“มีความสุขได้เจอพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ และได้เล่นกันทุกวัน อยากให้โรงเรียนของเราน่ารักแบบนี้ตลอดไปเลยค่ะ” น้องปิ่น ด.ญ.ทิพปภา หม้อทิพย์ ช่วยเล่าเสริม

เป็นตัวอย่างโรงเรียนไซซ์เล็กที่อัดแน่นไปด้วยความสุขและคุณภาพ พบกันในทุ่งแสงตะวัน ตอน สุขขนาดเล็ก เช้าวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 05.05 น. ช่อง 3 กด 33 และทางเฟซบุ๊กทุ่งแสงตะวันเวลา 07.30 น.

กนกวรรณ อำไพ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน