บิ๊กป้อม สั่งทส.ดูแลฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ย้ำแผนอนุรักษ์พะยูน

บิ๊กป้อม / เมื่อวันที่ 23 ก.ย. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ มีผู้แทนหน่วยงานราชการ 16 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวน 12 คน และอธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งเป็นกรรมการและเลขานุการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 31 คน เป็นการประชุมครั้งที่ 2/2562 ณ ห้องประชุมอารีสัมพันธ์ อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมการฯ ชุดนี้ถือเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝังแห่งชาติให้มีความเหมาะสม ตอบสนองต่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการประชุมครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

1.การออกกฎกระทรวงกำหนดพื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดระนอง เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์ตามมาตรา ๑๘ และกำหนดมาตรการคุ้มครองตามมาตรา 23 พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดระนองเนื้อที่ประมาณ 75,637 ไร่ ประกอบด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญและมีค่า เช่นพันธุ์ไม้ ของป่าและสัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงาม จึงสมควรกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์เพื่อประโยชน์ในการสงวน การอนุรักษ์ และการพื้นฟูพื้นที่ปาชายเลนให้คงสภาพธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์

2. การออกกฎกระทรวงกำหนดให้บริเวณเกาะโลซิน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามมาตร 20 และกำหนดมาตรการคุ้มครอง ตามมาตรา 23 เกาะโลซินเป็นพื้นที่ที่มีสภาพรมชาติสมบูรณ์ ควรสงวนไว้เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในอ่าวไทย มีทรัพยากรทางทะและชายฝั่งที่สำคัญประกอบด้วยแนวปะการังพื้นที่ 80.63 ไร่ เป็นแหล่งหากินของสัตว์ทะเลหายาก

เช่น ปลาฉลามวาฬ ปลาโรนัน กระเบนแมนตา นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งดำน้ำลึก (scuba diving ที่มีความสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นเกาะที่มีความสำคัญทางด้านเขตแดนปัญหาทรัพยากรทางทะเลที่พบ ได้แก่ ความเสียหายของแนวปะการังจากกิจกรรมการท่องเที่ยวดำน้ำ จากภัยธรรมชาติ จากขยะทะเลและปัญหาจากการทำการประมงผิดกฎหมาย

3.รายงานสถานการณ์การเกยตื้นของพะยูนและการจัดทำ (ร่าง) แผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติภายใต้แผนแม่บทมาเรียมโปรเจคในปี 2562 (มค. – ส.ค.62) พบพะยูนเกยตื้นรวม 18 ตัว โดยพบเป็นซากเกยตื้น 16 ตัว และพบการเกยตื้นแบบมีชีวิต 2 ตัว คือ “มาเรียม” และ “ยามีล”

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการสัตว์ทะเลหายากอย่างมีประสิทธิภาพ กรม ทช. จึงได้จัดทำ (ร่าง) แผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติภายใต้แผนแม่บทมาเรียมโปรเจค โดยมีเป้าหมายเพิ่มประชากรพะยูนจาก 250 ตัว เป็น 280 ตัว ในเวลา 3 ปี ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ จำนวน 7 โครงการและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคส่วนต่าง ๆ นำแผนไปดำเนินการต่อไป

4.การเสนอวันป่าชายเลนประจำปีของชาติ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ที่ทรงแสดงถึงความห่วงใยต่อป่าชายเลน ส่งผลให้รัฐบาลหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมกันปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนมาอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น เพื่อเป็นการรวมพลังประชาชนชาวไทยทุกภาคส่วน ให้ร่วมกันอนุรักษ์ป่าชายเลน กรม ทช. จึงเห็นควรกำหนดไห้มีวันป่าชายแลนแห่งชาติขึ้น โดยกำหนดให้วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันป่าชายเลนประจำปีของชาติ เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับป่าชายเลนเป็นครั้งแรก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน