อธิบดีพช. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริสู่ความยั่งยืน

อธิบดีพช. / วันที่ 5 ต.ค. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริสู่ความยั่งยืน “โครงการทางสังคม เพื่อการบริหารจัดการน้ำ สู่การพัฒนาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดความสำเร็จในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ

โดยมีนายจาตุรงค์ สุขะเสน รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวต้อนรับ และ ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ ชั้น 6 ตึก ELD การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ ถนนงามวงศ์วาน กรุงเทพฯ

โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวเปิดงาน โดยได้กล่าวถึง รัชกาลที่ 9 ได้มีรับสั่งให้เก็บน้ำ โดยภาชนะธรรมชาติ (ห้วย หนอง คลอง บึง) แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ดำเนินการโดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคเอกชน ภาครัฐ และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างดี

ปัญหาทุกวันนี้อยู่ที่จะขยายผลการดำเนินงานอย่างไร การทำงานจะประสานงานกันอย่างไร หากเราเดินไปพร้อมกันก็จะเกิดพลัง และทำให้เกิดความยั่งยืน แม้ว่าปัจจุบันจะมีความหลาย (Diversity) แต่ถ้าความหลากหลาย เราเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ก็จะเกิดความยั่งยืน การทรงงาน “ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงนำบทเรียนในอดีต มองไปข้างหน้าเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”

ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ บริการจัดการนั้น โดยน้อมนำแนวพระราชดำริ ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 “ภายใต้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางในการดำเนินงานบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า ตามแนวพระราชดำริ ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐภาคเอกชน หน่วยงานท้องถิ่น ชุมชน และประชาชน

โดยมีแผนดำเนินการ 3 ด้าน ดังนี้ 1) บริหารจัดการน้ำได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาตนเอง เรียนรู้และสามารถบริหารจัดการน้ำ ตามแนวพระราชดำริได้ด้วยตนเอง 2) บริหารทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจชุมชนบริหารจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า และทำเกษตร ตามแนวพระราชดำริ 3) เครือข่ายขยายผลสู่ความยั่งยืน ขยายผลต้นแบบความสำเร็จ มีศักยภาพสู่ความยั่งยืน โดยขับเคลื่อนงานผ่านแกนนำ 60 ชุมชน เครือข่าย 1,573 หมู่บ้าน และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ 19 แห่ง พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน