การป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก

ต้องการความช่วยเหลือจากไต้หวัน

การป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก – ดร.เฉิน สือจง (Chen, Shih-Chung) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

ภัยอันตรายจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์ เศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปลายปี 2562 มีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุที่เมืองอู่ฮั่นในประเทศจีน ต่อมาได้แพร่ระบาดทั่วโลกอย่างรุนแรง ขณะนี้มีผู้ป่วยยืนยันสะสมทั่วโลกมากกว่า 3,860,000 ราย ผู้เสียชีวิตจำนวน 270,000 ราย เป็นจำนวน 200 กว่าประเทศ/เขตภูมิภาค/พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยก็ไม่พ้นจากโรคระบาดนี้เช่นกัน ขั้นต้นประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา คนไทยจำนวนมากประสบปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและราคาหน้ากากอนามัยพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก

เมื่อสถานการณ์โรคระบาดภายในประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้น รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศใช้พ.ร..บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และมาตรการสำคัญเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทันที จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยสะสมยืนยันทั้งสิ้น 3,000 ราย ผู้เสียชีวิต 55 ราย ปัจจุบันการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงเป็นเรื่องท้าทายหลักของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย

บทเรียนจากความเจ็บปวดเมื่อครั้งเกิดโรคซาร์สระบาดในไต้หวัน ทำให้ไต้หวันเตรียมพร้อมรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่อย่างรอบคอบ หลังจากได้รับการยืนยันว่ามีโรคปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุระบาดที่เมืองอู่ฮั่นในประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ไต้หวันจึงเริ่มใช้มาตรการตรวจโรคกับเที่ยวที่บินตรงมาจากเมืองอู่ฮั่นทันที

โดยเตรียมการล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการระบาดจากคนสู่คน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 ไต้หวันได้จัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการโรคติดต่อ(CECC)” มีบทบาทในการจัดการป้องกัน ควบคุมโรคระบาดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ

การรับมือกับภัยอันตรายจากโรคโควิด-19 ในไต้หวัน นอกจากมีการปรับเปลี่ยนมาตรการตรวจโรคที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองตามสถานการณ์โรคระบาดอย่างทันท่วงที เช่นการตรวจร่างกายก่อนขึ้นเครื่อง การวัดไข้ ใบบันทึกประวัติสุขภาพและการกักตัวภายในบ้าน 14 วัน สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงในระดับ 3 (Warning)

และจัดทำระบบตรวจโรคอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้โดยสารที่มีหมายเลขโทรศัพท์โทรคมนาคมของเครือข่ายไต้หวันกรอกข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ การยืนยันการรายงานสุขภาพจะถูกส่งผ่านข้อความโดยอัตโนมัติและถูกส่งต่อถึงระบบบริหารจัดการสุขภาพของหน่วยงานท้องถิ่น เพื่ออำนวยความสะดวกให้หน่วยงานรัฐบาลช่วยเหลือดูแล การส่งมอบของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการรักษาพยาบาล

นอกจากนี้แล้วยังบันทึกประวัติการเดินทางแต่ละบุคคลไว้ในบัตรประกันสุขภาพ (NHI) เป็นข้อมูลประกอบในการให้แพทย์พิจารณาตรวจหาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการระบาดในชุมชน สำหรับผู้ที่กักตัวในบ้านเพื่อสังเกตอาการ มีการใช้เครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อติดตามข้อมูลผ่านระบบ GPS

สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการกักตัวจะถูกปรับและถูกกักกันในพื้นที่ควบคุม เพื่อบรรลุเป้าหมายการยับยั้งต่อการแพร่ระบาด เนื่องด้วยมีการใช้มาตรการได้อย่างทันท่วงที ทำให้ไต้หวันที่มีพื้นที่อยู่ใกล้กับประเทศจีนนั้นอยู่ในอันดับที่ 123 จาก 183 ประเทศเมื่อนับจากจำนวนผู้ป่วยผู้ป่วยยืนยันหนึ่งล้านคน แสดงให้เห็นว่าการควบคุมโรคระบาดในไต้หวันประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

ความปลอดภัยด้านสุขภาพทั่วโลกจำเป็นต้องใช้ความพยายามทุ่มเทร่วมกันของมนุษยชาติ จึงจะสามารถรับมือกับความท้าทายและภัยอันตรายด้านสาธารณสุขได้ดีที่สุด แม้ว่าไต้หวันจะไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การอนามัยโลก (WHO) ไต้หวันยินดีเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความปลอดภัยด้านสุขภาพทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ไต้หวันจึงได้แสวงหาโอกาสในการร่วมมือกับประเทศไทย ไม่นานมานี้ ๆ นี้ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย (สำนักงานฯ) ได้จัดสัมมนาออนไลน์ร่วมกับโรงพยาบาลและหน่วยงานต่าง ๆ หลายแห่ง

เช่น Chi Mei Hospital, Taiwan Institute for Biotechnology and Medicine Industry (IBMI), Taiwan National Health Research Institutes And Institute for Information Industry และอื่น ๆ เป็นต้น เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคระบาดของไต้หวันให้กับบุคลากรการสาธารณสุขและประชาชนชาวไทย

นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการชาวไต้หวันและชาวจีนโพ้นทะเลที่พำนักอยู่ในประเทศไทยจัดตั้ง “คณะกรรมการประสานสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ไทย-ไต้หวัน” (JERT) ขึ้น ซึ่งได้บริจาคหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่น ๆ แก่หน่วยงานในจังหวัดสมุทรปราการ เมืองพัทยา และโรงพยาบาลรามาธิบดีอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการดำเนินตามแนวคิด “Taiwan Can Help” ของรัฐบาลไต้หวัน

ประเทศไทยเป็นประเทศพันธมิตรที่สำคัญตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound Policy) ของไต้หวัน ก่อนหน้านี้ นายสวี ซือเจี่ยน (Hsu, Szu-Chien) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไต้หวันเป็นตัวแทนส่งมอบหน้ากากอนามัยจำนวน 200,000 ชิ้นให้กับประเทศไทย เพื่อเป็นโอกาสเสริมสร้างความร่วมมือป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในอนาคต และนายธงชัย

ชาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป) ได้แสดงความขอบคุณถึงรัฐบาลและประชาชนชาวไต้หวันต่อการบริจาคในครั้งนี้ เป็นการแสดงถึงน้ำใจและความห่วงใยของไต้หวันที่มีต่อประชาชนชาวไทย อีกทั้งเป็นการดำเนินงานตามแนวคิด “Taiwan is helping” อีกด้วย

ไต้หวันได้ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองโลก และปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (IHR 2005) โดยการรายงานจำนวนผู้ป่วยยืนยันต่อองค์การอนามัยโลก พร้อมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนผู้ป่วยยืนยัน ประวัติการเดินทาง รวมถึงมาตรการควบคุมการตรวจคนเข้าเมืองกับกรมควบคุมโรคกับกรมควบคุมโลกของนานาประเทศในการต่อสู้กับโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง

อาทิ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลย์เซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา แคนนาดา อิตาลี ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน อังกฤษ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์และสหภาพยุโรป เพื่อมั่นใจไม่ให้ประชาคมโลกตกอยู่ในอันตราย อันเนื่องจากขาดการสื่อสารและความโปร่งใสของข้อมูล

ไต้หวันต้องการองค์การอนามัยโลก(WHO) และองค์การอนามัยโลก ก็ต้องการไต้หวันเช่นกัน พันธกิจขององค์การอนามัยโลกคือ ไม่ควรที่จะปฏิเสธใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เนื่องจากปัจจัยทางการเมือง กีดกันไม่ให้ไต้หวันมีส่วนร่วมในองค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย ไต้หวันสามารถแบ่งปันประสบการณ์ด้านสาธารณสุข ระบบการรักษาพยาบาล ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความสามารถด้านการคัดกรองโรค การผลิตวัคซีนและยา

รวมถึงความสามารถในการวิจัยไวรัสให้กับประชาคมโลก หวังว่าหลังจากข้ามผ่านบททดสอบของโรคโควิด-19 ในครั้งนี้ องค์การอนามัยโลกจะเข้าใจว่าโรคระบาดนั้นไม่มีการแบ่งเขตแดน ไม่ควรมองข้ามทุกพื้นที่ ทุกพื้นที่ที่ถูกมองข้ามนั้นอาจเป็นช่องโหว่ในการป้องกันโรค และยิ่งไม่ควรมองข้ามศักยภาพของประเทศใด ๆ ที่มีคุณประโยชน์ให้ต่อประชาคมโลก

ไต้หวันขอเรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของไต้หวันที่มีต่อสิทธิสุขภาพของมนุษย์และการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคต่อประชาคมโลก สนับสนุนให้ไต้หวันร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์การอนามัยโลก ให้ไต้หวันได้เข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การอนามัยโลก พร้อมทั้งร่วมมือกับนานาประเทศทั่วโลกเพื่อเป็นไปตามกฎบัตรองค์การอนามัยโลกว่าด้วย “สุขภาพเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษยชน”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน