สธ. เปิดปฏิบัติการ “NEVER STOP TO ZERO ไม่หยุดผลิต ไม่หยุดเสพ เราไม่หยุดเผา”
เผาทำลายยาเสพติดของกลางกว่า 37 ต้น มูลค่าเกือบ 9,968 ล้านบาท
วันที่ 10 ก.พ.2568 ที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน ขบวนรถขนย้ายยาเสพติดของกลางเพื่อทำการเผาทำลาย ครั้งที่ 59
โดยมี นายแพทย์โอภาส การย์กวิน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุข ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลกำหนดให้การแก้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป็นภัยร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเน้นดำเนินการอย่างครบวงจรใน 3 มิติหลัก คือ การป้องกัน การปราบปราม และแก้ไข
โดยการบำบัดรักษา คืนคนดีสู่สังคม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข นอกจากมีภารกิจหลักในการบำบัด รักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแล้ว ยังเป็นฝ่ายสนับสนุนการปราบปรามยาเสพติด โดยรับผิดชอบการสกัดกั้นยาเสพติด รวมถึงตรวจรับ และเก็บรักษายาเสพติดของกลาง ที่นำส่งจากสถานตรวจพิสูจน์ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำไปทำลายอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ ไม่ให้มียาเสพติด กลับคืนสู่สังคม
สำหรับการเผาทำลายยาเสพติดของกลางครั้งที่ 59 นี้ มีน้ำหนักรวมหีบห่อมากถึง 37 ตัน เฉพาะยาเสพติดของกลางรวม 29.33 ตัน จาก 59,789 คดี โดยมากสุดเป็นเมทแอมเฟตามึน / แอมเฟตามีน (ยาบ้า) 96 กิโลกรัม รองลงมา เมทแอมเฟตามีน (ยาไอซ์) เฮโรอีน เอ็มเอ็มดีเอ/เอ็มดีเอ็มเอ คีตามีน คาโคลี และยาเสพติดอื่นๆ รวมมูลค่าถึง 9,967,830,254 บาท
โดยจะขนย้ายจากคลังเก็บรักษายาเสพติดของกลางคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อนำไปเผาทำทำลายที่ บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ ภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวดตลอดเส้นทาง ใช้เตาเผาขยะอันตราย (Hazardous Waste Incinerator) อุณหภูมิสูง 1,200 องศาเซลเชียส ด้วยเชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ พร้อมระบบควบคุมมลพิษที่เหลือจากการเผาทำลาย และมีการตรวจสอบควบคุมสารมลพิษไม่ให้เกิดผลกระทบ โดยการเผาทำลายจะดำเนินการต่อเนื่อง 36-38 ชั่วโมง
นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับภารกิจด้านการรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยในปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมา ได้นำผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาทั้งโดยหน่วยบริการสาธารณสุข การบำบัดโดยชุมชนที่ชุมชมชน (CBTx) กรมคุมประพฤติ รวมกว่า 200,000 คน แยกเป็น การสมัครใจเข้ารับบำบัด ร้อยละ 60 เจ้าหน้าที่นำส่ง ร้อยละ 30 และศาลสั่งบำบัดร้อยละ 10 ทำให้สามารถส่งคนดีกลับคืบคืนสู่สังคมไปแล้วกว่า 130,000 คน