สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน)

คอลัมน์ – อริยะโลกที่ 6

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ..2365

มีพระประวัติเบื้องต้น ไม่ปรากฏรายละเอียด ทราบแต่เพียงว่า ประสูติในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง พ..2304 เดิมจะได้เปรียญและเป็นพระราชาคณะตำแหน่งใดมาก่อนหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐาน กระทั่งมาในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงปรากฏหลักฐานว่าเป็นพระเทพโมลี อยู่วัดหงษ์

ถึงรัชกาลที่ 2 เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพรหมมุนี แล้วเลื่อนขึ้นเป็นที่พระพิมลธรรม เมื่อปีชวด พ..2359 ในคราวเดียวกับที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช (มี)

..2363 ทรงโปรดให้เลื่อนพระพิมลธรรม (ด่อน) เป็นสมเด็จพระพนรัตน์ ในคราวเดียวกันกับที่ทรงตั้งสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระสังฆราช

ครั้น พ..2365 สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน์ (ด่อน) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อเดือน 4 ในศกนั้น แต่ไม่พบสำเนาประกาศสำเนาทรงตั้ง เมื่อทรงตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว จึงโปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุเช่นเดียวกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อนๆ นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 สุดท้ายที่สถิต ณ วัดมหาธาตุ

ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 3 ในรัชกาลที่ 2 และทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ 2 ปีเศษ ก็สิ้นรัชกาลที่ 2

ในปลายรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจสำคัญ คือ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์ ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันอังคาร เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ตรงกับวันที่ 6 .. 2367 เมื่อทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดมหาธาตุ 3 วัน แล้วเสด็จไปประทับศึกษาวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)

เนื่องมาจากการทรงผนวชของพระบาทสมเด็จ พระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยของสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ครั้งนั้น ได้ก่อให้เกิดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ ที่นับว่าสำคัญครั้งหนึ่ง ในประวัติการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในเวลาต่อมา กล่าวคือ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับมาประทับทรงศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดมหาธาตุ จนทรงรอบรู้ในภาษาบาลีและเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกแล้ว ก็ทรงพิจารณาเห็นความบกพร่องในวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในยุคนั้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว จึงเป็นเหตุให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริปรับปรุงแก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ดังที่ได้ทรงศึกษาจากท่าน ผู้รู้และพิจารณาสอบสวนกับพระไตรปิฎกที่ได้ทรงศึกษาจนเชี่ยวชาญแตกฉาน โดยพระองค์เองทรงประพฤตินำขึ้นก่อนแล้วภิกษุสามเณรอื่นๆ ที่นิยมเลื่อมใสก็ประพฤติตาม

พระราชดำริในการปรับปรุงแก้ไขพระศาสนาของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมิได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องวัตร ปฏิบัติของพระสงฆ์เท่านั้น แต่รวมตลอดไปถึงการศึกษาพระปริยัติธรรม และการเทศนาสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัทด้วย จึงนับเป็นช่วงแห่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญช่วงหนึ่งของพระพุทธศาสนาใน ประเทศไทย

ในตอนปลายสมัยสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ได้ชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจารครั้งใหญ่ ดังที่บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารว่าเมื่อ ณ เดือน 1 เดือน 2 เดือน 3 เกิดชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจารมิควร ได้ตัวชำระสึกเสียก็มาก ประมาณ 500 เศษ ที่หนีไปก็มาก พระราชาคณะเป็นปาราชิกก็หลายรูป

นับเป็นการชำระสะสางอลัชชีในคณะสงฆ์ครั้ง ใหญ่ที่สุดเท่าที่ปรากฏในประวัติการณ์ของคณะสงฆ์ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของคณะสงฆ์ในยุคนั้น ในขณะเดียวกัน เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเอาพระทัยในการคณะสงฆ์ของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน อย่างจริงจัง ทรงพยายามชำระสะสางการพระศาสนาและการคณะสงฆ์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างเต็ม พระสติปัญญาอยู่เสมอ

สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ 19 ปี 6 เดือน สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน 10 แรม 4 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 23 ..2385 รวมพระชนมายุได้ 81 พรรษา

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำเมรุผ้าขาวแล้วพระราชทานเพลิง เมื่อวันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 13 ค่ำ ตรงกับวันที่ 11 มี.. 2385

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน