สถูป เจดีย์

สถูปและเจดีย์เป็นคติและสัญลักษณ์ของจักรวาลทัศน์ ทั้งในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์

ในทางพุทธศาสนา ปล้องหรือชั้นระดับต่างๆ ที่อยู่เหนือส่วนที่เรียกว่า บัลลังก์ หรือส่วนที่อยู่เหนือองค์เจดีย์ตั้งแต่ปล้องที่ 7 ขึ้นไปจนถึงปล้องที่ 24 เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงชั้นของพรหม

คำว่า พรหม หรือผู้ที่มีฐานะเป็นพรหมมีอยู่ทั้งในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ โดยรูปศัพท์ พรหม แปลว่า ผู้อยู่เดียวดายผู้ไม่ข้องแวะกับผู้อื่น

พรหมในพุทธศาสนามีความหมายสองประการ คือ

1.พรหมที่หมายถึงผู้ที่เจริญ ศีล สมาธิ จนจิตใจอยู่ในระดับต่างๆ หรืออาจจะหมายความถึงผู้ที่อยู่ในฌาน ในระดับต่างๆ 4 ระดับ ตั้งแต่ปฐมฌาน ฌานชั้นที่ 1 ทุติฌาน ฌานชั้นที่ 2 คติฌานฌานชั้นที่ 3 จตุรฌาน ฌานชั้นที่ 4 ที่มีภาวะจิตที่เรียกว่า เป็นสมาธิ สงบนิ่ง (ไม่ข้องแวะกับผู้อื่น) หรือ

สถูป เจดีย์

2. พรหมคือผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ผู้มีพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา ต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง

กรุณา ช่วยเหลือสรรพสัตว์ ให้พ้นทุกข์

มุทิตา ยินดี ชื่นชม ในความดีงามของสัตว์โลก

อุเบกขา ความวางเฉยในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทุกข์ทั้งปวง ทั้งของตนและผู้อื่น

ส่วนพรหมในศาสนาพราหมณ์เป็นผู้สร้างโลกช่วยเหลือ ผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ขณะเดียวกันด้วยความที่พรหมแปลว่า ผู้อยู่เดียวดาย พรหมในศาสนาพราหมณ์จึงไม่มีที่อยู่ เช่น พระศิวะ หรือพระนารายณ์ที่เรียกว่า ตรีมูรติ

แต่ประเทศไทยเรา พรหมได้ลดฐานะมาอยู่ศาลพระพรหม เทียบเท่ากับศาลพระภูมิที่หมู่บ้านจัดสรรหลายๆ แห่งตั้งศาลให้อยู่ตามทางเข้าหมู่บ้านจัดสรรกันทั่วไป

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน