คลองเตยปันกันอิ่ม-ช่วงโควิด โมเดล สสส.-เครือข่ายพุทธิกา

คลองเตยปันกันอิ่ม-ช่วงโควิด – สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา จัดงานเสวนา “ปันกันอิ่มจากวิกฤตสู่โอกาสเกื้อกูลสังคม” เปิดโมเดลความสำเร็จ “คลองเตยปันกันอิ่ม” ช่วงวิกฤตโควิด-19

คลองเตยปันกันอิ่ม-ช่วงโควิด

คลองเตยปันกันอิ่ม-ช่วงโควิด

ที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ของการแบ่งปัน ‘ชุมชนอิ่มท้อง ร้านค้าอยู่รอด’ พร้อมเดินหน้าขยายอีก 5 ชุมชน ภายใต้แนวคิด ปันกันอิ่ม ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมในระดับชุมชนได้อย่างยั่งยืน เมื่อเร็วๆ นี้ ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ

พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต และประธานมูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา กล่าวว่า “แนวคิดปันกันอิ่ม เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2561 มูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. ริเริ่มโครงการปันกันอิ่มเพื่อให้คนไทยสามารถทำบุญได้ง่าย เพียงมีเงิน 20-30 บาท

วิธีการคือ นำเงินไปฝากไว้กับแม่ค้าหรือซื้ออาหารฝากพ่อค้า-แม่ค้าไว้ จากนั้นพ่อค้า-แม่ค้าจะให้กับคนที่ไม่มีอาหารกิน ทำให้คนที่เดือดร้อนได้รับสิ่งที่บรรเทาความทุกข์ นับเป็นการทำบุญที่น่าอนุโมทนามาก ที่อาตมาเรียกว่าเป็นการทำบุญก็เพราะว่าผู้ให้ได้สละเงิน สละสิ่งของ หรืออาหารให้แก่ผู้ที่เขาเดือดร้อนก็ถือว่าเป็นการทำบุญเรียกว่าเป็นการบำเพ็ญทาน

คลองเตยปันกันอิ่ม-ช่วงโควิด

ภาษาบาลีเรียกว่าทานมัย การทำบุญไม่ได้แปลว่าจะต้องทำกับพระ หรือไม่จำเป็นต้องถวายวัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำกันมากๆ ทำได้ง่ายและก็เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เกิดประโยชน์แก่ผู้รับและผู้ให้ ผู้รับก็มีความสุข ผู้ให้ก็มีความสุข สุขที่ใจสมกับที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่าผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข”

นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุน สสส.กล่าวว่า แนวคิดปันกันอิ่มภายใต้โครงการฉลาดทำบุญ เปิดโอกาสให้คนในสังคมได้เข้าถึงประสบการณ์ในการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการให้และแบ่งปันโครงการปันกันอิ่ม

ถือเป็นนวัตกรรมการทำบุญรูปแบบใหม่จากบทเรียนวิกฤตโควิด-19 ที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน เหมาะกับยุคสมัยโดยใช้คูปองแทนการให้เงิน และการแบ่งปันนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยหนุนเสริมให้สังคมอยู่รอด โดยมีกลไกคือร้านขายอาหารเป็น ‘สะพานบุญ’ เชื่อมระหว่างผู้ให้และผู้รับ

คลองเตยปันกันอิ่ม-ช่วงโควิด

วิธีนี้นอกจากช่วยให้ผู้รับอิ่มท้องแล้ว ร้านอาหารในชุมชนก็อยู่รอด ทำให้ในชุมชนมีเงินหมุนเวียน นับได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับชุมชนที่จะช่วยให้เกิดสังคมที่มีความเกื้อกูล มีวิถีชีวิตสุขภาวะที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ขณะนี้มีร้านเข้าร่วมโครงการ 68 ร้านค้า และศูนย์อาหาร 1 แห่ง

น.ส.อภิญญา จารุวัฒนชัยกุล เจ้าหน้าที่โครงการคลองเตยดีจัง กล่าวว่า โครงการคลองเตยปันกันอิ่ม เป็นภาคประชาสังคมที่ทำงานในพื้นที่นำแนวคิดปันกันอิ่มเข้าไปประยุกต์ช่วยเหลือคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งจากการว่างงานและกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ

โดยมีวิธีการ คือ นำคูปองอาหารไปมอบให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในชุมชน แทนเงินสดที่ได้จากการรับบริจาคมาจากผู้ใจบุญ เพื่อนำไปซื้ออาหารกับร้านค้าของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยหน้าที่ของร้านค้า คือ ทำอาหารที่สดใหม่ ปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

คลองเตยปันกันอิ่ม-ช่วงโควิด

คลองเตยปันกันอิ่ม-ช่วงโควิด

โครงการคลองเตยปันกันอิ่มแจกคูปองให้กับทุกคนในชุมชนเป็นเวลา 3 เดือน และจะขยายไปยังชุมชนอื่นอีก 5 ชุมชน โดยให้ผู้นำในชุมชนนั้นๆ เป็นผู้ดำเนินงานเอง เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทชุมชน โดยมีเจ้าหน้าที่โครงการคลองเตยดีจังเป็นผู้คอยแนะนำ

นอกจากนี้ ภายในงานเสวนายังมี นายสมศักดิ์ เชี่ยวชาญยนต์ เจ้าของร้านมาราธอนข้าวหมูทอด, นายเชษฐา มั่นคง ผอ.มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก, นายสุรนาถ แป้นประเสริฐ จากชุมชนวัดโพธิ์เรียง และอดีตนางเอกละคร“ชฎาพร รัตนากร” มาร่วมแบ่งปันแนวทางการนำแนวคิดปันกันอิ่มไปต่อยอดในอนาคต

สำหรับร้านค้าหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจร่วมโครงการปันกันอิ่มกับมูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : พุทธิกา ฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน