สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) หนุนชุมชนใช้ศิลปะสร้างอาชีพ-รายได้-รับรู้มรดกโลก

ศิลปะวัฒนธรรม - ศิลปะสร้างอาชีพ เมืองมรดกโลก

นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่าสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยดำเนินการภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายศิลปะร่วมสมัยประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรมมาสร้างงาน สร้างรายได้ ในช่วงเดือนสิงหาคมสนับสนุนโครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง (GMS ART FEST 2024) จัดจนถึงวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา ที่ลานหน้าพิพิธภัณฑ์เมืองเขมราฐ (บ้านพักนายอำเภอหลังเก่า) ถนนสายวัฒนธรรม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นปีแรกที่จัดทำโดยใช้แนวคิดการนำศักยภาพความโดดเด่นในพื้นที่ของแต่ละจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับลุ่มแม่น้ำโขงมาต่อยอดโดยใช้งานศิลปะร่วมสมัย เชิญศิลปินในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) มาร่วมพัฒนาศักยภาพของศิลปินรุ่นใหม่ และยกระดับความร่วมมือสู่นานาชาติ

ศิลปะวัฒนธรรม - ศิลปะสร้างอาชีพ เมืองมรดกโลก

ภายในงานมีกิจกรรมให้สาระความรู้ด้านงานศิลปะร่วมสมัยมากมาย อาทิ นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง “โขงม่าง น้ำตาพัง” นำเสนอผลงานโดยศิลปินจากประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และศิลปินรับเชิญจากจังหวัดอุบลราชธานี จัดแสดง 3 พื้นที่ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์เมืองเขมราฐ บ้านขุนภูรีประศาสน์ อาคารชมรมถ่ายภาพอำเภอเขมราฐ (ศูนย์ประสานงานถนนสายวัฒนธรรม) นิทรรศการศิลปะผนังอาคาร การแสดงและดนตรี หนังกลางแปลง ตลาดนัดศิลปะ กิจกรรมเวิร์กช็อป

ศิลปะวัฒนธรรม - ศิลปะสร้างอาชีพ เมืองมรดกโลก

ศิลปะวัฒนธรรม - ศิลปะสร้างอาชีพ เมืองมรดกโลก

รองผู้อำนวยการ สศร. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สศร.สนับสนุนโครงการศรีเทพเมืองมรดกโลก : ออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายอาภรณ์และเครื่องประดับร่วมสมัยที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการสนับสนุนกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างคณาจารย์คณะมนุษย ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กับเครือข่ายกลุ่มสร้างอาชีพจังหวัดเพชรบูรณ์

ศิลปะวัฒนธรรม - ศิลปะสร้างอาชีพ เมืองมรดกโลก

โดยเชื่อมโยงความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ แหล่งมรดกโลก ไปสู่กิจกรรมการ อบรมเชิงปฏิบัติการที่มีแรงบันดาลใจด้านการออกแบบลายผ้า เทคนิคผ้ามัดย้อมและผ้าพิมพ์ลาย การสร้างสรรค์เครื่องประดับจากทรัพยากรในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายสำคัญในการนำเสนอความสำคัญทางศิลปะสู่อาชีพผ่านผลงานออกแบบสร้างสรรค์ลวดลายอาภรณ์และเครื่องประดับร่วมสมัย เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมไทยที่ผู้คนในท้องถิ่นและชุมชนสามารถเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาต่อยอดไปสู่อาชีพที่สร้างรายได้ สามารถนำทุนทางวัฒนธรรมมาช่วยพัฒนาและสร้างการรับรู้แหล่งมรดกโลกของไทย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน