บทบาทเป็นคุณ ของ ปิยบุตร แสงกนกกุล ถวายสัตย์ปฏิญาณ

คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

กรณีที่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ลุกขึ้นหารือและแสดงความห่วงใยต่อการถวายสัตย์ปฏิญาณของครม. พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม

กำลังจะเป็นกรณีศึกษาอันแหลมคมในทางการเมือง

สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของสมาชิกรัฐสภา แม้จะเป็นเพียงการหารือหรือการท้วงติง แต่เมื่อสะท้อนเนื้อหาที่เป็นจริงเป็นจังก็สามารถมีบทบาทได้

แม้จะมีความพยายามตัดบทให้จบ แต่เรื่องก็ไม่จบ

เหตุเพราะการถวายสัตย์ปฏิญาณตนของครม.ที่นำโดย พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเรื่องสำคัญ และสัมพันธ์กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 161

เมื่อศึกษารายละเอียดความเป็นมาของเรื่องนี้ 1 มาจากความเป็นอาจารย์สอนเรื่องรัฐธรรมนูญ อ่านรายละเอียดของรัฐธรรมนูญทั้งอดีตและปัจจุบันมาอย่างต่อเนื่อง

1 จึงสามารถจับได้ในความผิดเพี้ยน

เป็นความผิดเพี้ยนที่ไม่เพียงแต่การกล่าวนำของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะไม่ครบถ้วน ขาดหายไป หากแต่ยังมีการเติมเข้าไปโดยอัตโนมัติ

เรียกตามสำนวนไทยโบราณก็เกิดสภาพแปลงสาร

คำถามก็คือ การกล่าวนำข้อความถวายสัตย์ปฏิญาณตนในเมื่อเป็นบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญจะละเลยหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามใจของผู้กล่าวได้หรือไม่

จากวันที่ 16 กรกฎาคม กระทั่งมีการทักท้วงว่าอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนในที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 25 กรกฎาคม กว่าจะมีการแสดงความรับผิดชอบก็ต่อเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม

นั่นก็คือ คำประกาศผมขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

นั่นก็คือ มีรูปธรรมทั้งจากตัว พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งบริษัทบริวารภายในรัฐบาลและภายในพรรคพลังประชารัฐที่ต้องการให้จบ

แต่เมื่อเป็นเรื่องสำคัญจึงมิอาจจบได้อย่างง่ายดาย

ยิ่ง พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปล่อยเลยตามเลย ให้เรื่องนี้คลุมเครือ ไม่รู้ว่าจะลงเอยผ่านกระบวนการอย่างไร จะยิ่งทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่

จากนี้หากมองผ่านกระบวนการบริหารจัดการต่อแต่ละปัญหาก็มองเห็นอย่างเด่นชัดว่า เหตุปัจจัยอะไรทำให้เรื่องนี้กลายเป็นวาระ กลายเป็นประเด็น

ตอบได้เลยว่าเป็นตัว พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เอง

โดยวิถีแห่งวิญญูชน ไม่ว่ารัฐบาล ไม่ว่า พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าพรรคพลังประชารัฐ สมควรกล่าวขอบคุณต่อการท้วงติงจากฝ่ายค้าน

ต้องให้รางวัล นายปิยบุตร แสงกนกกุล อย่างเป็นพิเศษ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน