ความยุติธรรม ยังเป็นปัญหาในวันนี้

 

คอลัมน์ ชกไม่มีมุม

โดย… วงค์ ตาวัน

ความยุติธรรม ยังเป็นปัญหาในวันนี้ – บรรยากาศของกระบวนการใช้กฎหมายในช่วงที่ผลการเลือกตั้งยังไม่เสร็จสมบูรณ์นี้ ความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเช่นไร ตอบได้ว่า ไม่ต่างไปจากช่วงที่เกิด ความขัดแแย้งหนักในสังคมไทยช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมาเลย

ในยุคนั้น เกิดข้อโต้เถียงกันหนักว่า กระบวนการยุติธรรมหลายส่วน มีความเที่ยงธรรมจริงไหม!?

แล้วความยุติธรรมก็เลยกลายเป็นปัจจัยเพิ่มเติม ที่เสริมให้ความขัดแย้งแตกแยกยิ่งบานปลาย

บรรยากาศตั้งแต่ยุคแบ่งสี เทียบกับวันนี้ หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นไป

ลองถามตัวเองดูว่า มันต่างกันไหม ซึ่งเอาเข้าจริงๆแทบไม่ต่างกันเลย!

ประชาชนส่วนหนึ่ง ยังรู้สึกพึงพอใจ ที่ฝ่าย “คนดีๆ” ทำอะไรก็ไม่มีความผิด เห็นว่านี่แหละยุติธรรมดีแล้ว เพราะคนดีๆ ควรได้รับความคุ้มครอง

แต่ประชาชนอีกส่วน กลับรู้สึกท้อแท้หรือคับข้องใจว่า ทำไมคนที่คิดแตกต่างออกไป คนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ๆ ถูกตีค่าว่าเป็นพวก “คนเลว” แล้วถูกเล่นงานด้วยสารพัดกลไก ลงเอยก็กลายเป็นผู้ผิดไปเสียหมด

ความรู้สึกแบบนี้ กำลังย้อนกลับมาอีกแล้วในวันนี้

สิ่งที่ยืนยันอย่างหนึ่งได้ว่า สังคมไทยเรามีปัญหาความยุติธรรม และกลายป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งแตกแยกก็คือ

คสช.เองได้เคยออกประกาศยอมรับในปัญหานี้!

โดยหลังจากเข้ายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ไม่นาน คสช.ได้ออกประกาศฉบับที่ 63/2557 เรื่อง นโยบายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมของรัฐ

ยอมรับว่า การดำเนินคดีต่างๆ การทำหน้าที่ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนว่า มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งทำให้ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมเกิดขึ้น

แถมบอกด้วยว่า อาจมีเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต ดังนั้นคสช.จึงมีนโยบายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมของรัฐว่า องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ศาล ป.ป.ช. องค์กรอิสระ อัยการ ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ

ให้ยึดมั่นในความเที่ยงธรรม มีบรรทัดฐานที่ชัดเจน ซึ่งสาธารณชนตรวจสอบได้

ตลอดจนหลีกเลี่ยงการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดความเข้าใจแก่สาธารณชน ในการบังคับใช้กฎหมาย อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคม!

ทีนี้มาดูว่า ตั้งแต่เข้ายึดอำนาจเมื่อปี 2557 มาจนถึงวันที่กลับคืนสู่ประชาธิปไตย ด้วยการเลือกตั้ง 24 มีนาคม

แล้วในช่วงสรุปผลเลือกตั้ง

ยังคาราคาซังและเต็มไปด้วยข้อกังขามากมายมหาศาล

ย่อมต้องเกิดคำถามว่า ย้อนไปก่อนนั้น 10 ปี ในช่วง 5 ปีของคสช. จนวันนี้ ปัญหายุติธรรมมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง หรือไม่

ตามที่คสช.ออกนโยบายไว้ มีผลอะไรให้ยุติปัญหาได้บ้างหรือยัง!?

…อ่าน…

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน