วงล้อเศรษฐกิจ

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

จากการที่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เร่งทำการตลาดกระตุ้นการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยให้ทันระยะเวลามาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และจดทะเบียนการจำนอง ที่สิ้นสุดในช่วงปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยฟื้นตัวในระยะสั้น

โดยจำนวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในส่วนของการซื้อจากผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเดือนม.ค.-เม.ย. 2559 รวม 55,756 หน่วย เติบโต 113% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2558

อย่างไรก็ตาม จำนวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในส่วนของการซื้อจากผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่สิ้นสุดมาตรการ หรือในเดือนพ.ค.-ส.ค. 2559 รวม 24,086 หน่วย หดตัว 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2558

คาดว่าจำนวนหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในส่วนของการซื้อจากผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งปี 2559 น่าจะอยู่ที่ 119,000-120,000 หน่วย เติบโต 2-3% เมื่อเทียบกับปี 2558

ในโค้งสุดท้ายของปี 2559 ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปรับแผนการขายที่อยู่อาศัย ด้วยการชะลอเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียม แล้วให้ความสำคัญกับการเปิดขายโครงการแนวราบ

ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 สัดส่วนจำนวนคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่น่าจะมีแนวโน้มลดลง โดยโครง การแนวราบส่วนใหญ่เป็นตลาดซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยจริง ที่มีมูลค่าเฉลี่ยต่อหน่วยสูงกว่าโครงการคอนโดมิเนียม รวมถึงมีจำนวนหน่วยต่ำกว่าโครงการคอนโดมิเนียม จึงสามารถปิดการขายได้ในระยะเวลาไม่นาน

ผลจากการที่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อย่างระมัดระวัง ส่งผลให้คาดว่าที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปี 2559 น่าจะมีจำนวน 93,000 หน่วย หดตัว 14% เมื่อเทียบกับปี 2558 โดยเป็นการหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

สำหรับแนวโน้มปี 2560 การซื้อขายที่อยู่อาศัยน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ โดยมีแรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ย ที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงกำลังซื้อที่อาจกลับ มาฟื้นตัว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน