ต้นทุนค่าก่อสร้างปี64พุ่ง – สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมก่อสร้างต้องปรับตัวในการทำงาน และเกิดต้นทุนฉับพลันในไซต์ก่อสร้าง ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเชิงป้องกันเพื่อลด การแพร่ของโรคระบาด (Protective health safety measure) ที่ทำให้ต้นทุนที่เกิดจากการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น เช่น ค่าเดินทาง รับส่งแรงงาน ค่าที่พักคนงาน และค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ป้องกันโรคระบาดที่เพิ่มขึ้น

จึงมองว่ามาตรการป้องกันโรคระบาดจะส่งผลให้ต้นทุน การก่อสร้างของผู้รับเหมาน่าจะเพิ่มขึ้น 0.2-0.5% ในช่วงการแพร่ ระบาดของโรค หรือตั้งแต่มี.ค. 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการใช้ วัคซีนอย่างแพร่หลาย

โดยถึงแม้จนถึงขณะนี้ไทยสามารถควบคุมโควิด-19 ได้ และสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศอาจจะเริ่มคลี่คลาย เมื่อมีการใช้วัคซีนกันอย่างแพร่หลายนั้น ต้นทุนทางด้านการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมาตรการป้องกันโรคระบาดอาจจะคงอยู่ เนื่องจากการทำงานรูปแบบนี้สามารถเป็นมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการระบาดของโรคติดต่อใหม่ต่อไป ต้นทุนนี้จึงอาจจะเป็นต้นทุนในระยะยาวในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า

นอกจากต้นทุนฉับพลันที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดแล้วยังมีต้นทุนฉับพลันที่เกิดจากค่าจ้างแรงงานอีกเช่น ในช่วงเดือน มี.ค.จนถึงเดือนมิ.ย.ปี 2563 ที่ผ่านมา งานก่อสร้างบางแห่งได้หยุดการก่อสร้าง หรือถึงแม้สามารถก่อสร้างต่อไปได้แต่ต้องลดความหนาแน่นคนงานลง ทำให้ต้องเพิ่ม จำนวนรอบการทำงาน ส่งผลให้ดัชนีค่าจ้างแรงงานก่อสร้างและค่าล่วงเวลาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งปัจจัยบางส่วนอาจจะมาจากสภาวะการขาดแคลนแรงงานเดิม ทำให้อาจมีต้นทุนก่อสร้างที่สูงขึ้นอีก 0.83% เพิ่มขึ้นจากต้นทุนมาตรการรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันโรคระบาด

มองว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ต้นทุนการก่อสร้างน่าจะเพิ่มจากปี 2563 อีก 1.41-1.94% ซึ่งต้นทุนหลักเพิ่มขึ้นจากราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยหากสถานการณ์ขาดแคลนของแร่เหล็กดีขึ้น หรือหากมีการใช้วัคซีนอย่างแพร่หลาย ต้นทุนที่เกิดจากความผันผวนของราคาเหล็กและการขาดแคลนแรงงานก่อสร้างอาจจะหายไป

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยควรมีมาตรฐานการรับมือโรคระบาด และพิจารณาการใช้เทคโนโลยี ที่ช่วยให้การก่อสร้างรวดเร็วขึ้นและลดความหนาแน่นของคน ในสถานที่ก่อสร้าง

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน