บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

จุดเริ่มต้นของธุรกิจ “ออนไลน์ช็อปปิ้ง” ในไทยทุกคนมีความอิสระและเข้าสู่ตลาดออนไลน์ช็อปปิ้งได้ง่าย โดยเฉพาะผ่านรูปแบบ Social Commerce

ประกอบกับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของคนไทยที่กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น คนไทยสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ ได้ง่ายกว่าอดีต จึงกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการ ผลักดันกิจกรรมการตลาดและการจับจ่ายซื้อสินค้าออนไลน์ได้มากยิ่งขึ้น

ตัวเลขของตลาดออนไลน์ช็อปปิ้งในไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างโดดเด่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 15-20% ต่อปี หรือมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 214,000 ล้านบาทในปัจจุบัน

ในทางกลับกัน รายได้ของธุรกิจค้าปลีกผ่านช่องทางเดิมอย่างออฟไลน์ มีการเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากหลายปัจจัย ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในบางกลุ่มสินค้า ของออนไลน์ช็อปปิ้ง เช่น กลุ่มสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้า ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความ เชื่อมั่นในการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น

สัญญาณดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติ หรือแม้แต่ผู้ผลิตสินค้า/แบรนด์ ต่างหันมารุกตลาดออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการจากต่างชาติ เช่น จีน เกาหลีใต้ ที่มาพร้อมกับรูปแบบของ E-Market Place ซึ่งมีจุดแข็งในเรื่องของเงินทุน พันธมิตร ห่วงโซ่อุปทานที่ครบวงจร

รวมถึงผู้ประกอบการค้าปลีกรายเดิม (เช่น กลุ่มค้าปลีก Modern Trade) ซึ่งมีฐานลูกค้าจากช่องทางออฟไลน์อยู่แล้ว ก็ได้มีการขยายช่องทางออนไลน์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น

ส่งผลให้คาดว่าภาพตลาดออนไลน์ช็อปปิ้งของไทยน่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างรวดเร็วและแข่งขันกันรุนแรงขึ้น ในระยะข้างหน้า

สร้างแรงกดดันให้กับผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย โดยเฉพาะคนที่ซื้อมาขายไป ต้องเผชิญการแข่งขันที่ยากลำบาก มากขึ้น

ทั้งนี้ คาดว่าปี 2561 ตลาด B2C-Online-Shopping (เฉพาะสินค้า) จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 256,000 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 470,000 ล้านบาทในปี 2565 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 16.0% ต่อปี

ทำให้ช่องทางออนไลน์ช็อปปิ้งมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก 5.0% ในปี 2560 เป็น 8.2% ในปี 2565 เมื่อเทียบกับภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน