ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (อีไอซี) ธนาคารไทยพาณิชย์

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เมื่อวันที่ 12-13 ธ.ค. 2017 ที่ประชุม FOMC มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed funds rate) ขึ้น 25 bps ไปอยู่ที่ช่วง 1.25-1.50% ตามที่ตลาดคาด

ทั้งนี้ คณะกรรมการของ FOMC ส่วนใหญ่ยังคงมองว่าควรจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 3 ครั้งในปี 2018 ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ อยู่ในช่วง 2.0-2.25% ณ สิ้นปี 2018

เฟดมีมุมมองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีขึ้นและยังคงเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะค่อยๆ ฟื้นตัว โดยเฟดได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจ ในปี 2017 และ 2018 ขึ้นไปที่ 2.5%YOY ทั้งสองปี จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต ได้ 2.4%YOY และ 2.1%YOY ตามลำดับ

อีไอซีมองว่าเฟด มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อีก 3 ครั้งในปี 2018 โดยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง

นอกจากนี้เฟดยังคงมองว่าเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำในปีนี้ เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวและยังเชื่อว่าเงินเฟ้อจะฟื้นตัวได้

ดังนั้น อีไอซีจึงมองว่าเฟด จะดำเนินนโยบายการเงินที่ เข้มงวดขึ้นได้ต่อเนื่องในปี 2018 โดยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 3 ครั้ง

มองว่าการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในระยะต่อไปจะ ไม่กระทบค่าเงินบาทมากนัก ถึงแม้ธนาคารกลางสหรัฐมี แนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง แต่อาจไม่ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลงของดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมากนัก เนื่องจากนักลงทุนได้คาดการณ์ไว้บ้างแล้ว

คาดว่า ธปท. มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในปี 2018 ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ จะมีแนวโน้มสูงขึ้นและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะสูงกว่าที่คาดอยู่ที่ 4.3%YOY ในไตรมาส 3 แต่การขยายตัวดังกล่าวยังคงกระจุกตัวอยู่ใน ภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลดีจากอุปสงค์จากต่างประเทศ ได้แก่ การส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ ในประเทศโดยเฉพาะกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ยังคงอ่อนแอ

ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีแนวโน้มคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน