สิทธิมนุษยชน

ตามหลักสากล สิทธิมนุษยชน เนื้อหาสาระมีว่าอย่างไร

ไก่แก้ว

ตอบ ไก่แก้ว

หลักการสำคัญที่สุดของ “สิทธิมนุษยชน” (Human Rights) คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน โดยที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระบุไว้ว่า สิทธิมนุษยชนใช้กับมนุษย์ทุกคนโดย เสมอกัน ไม่ว่าอยู่ที่ใด รัฐใด มีเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมใด โดยสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลได้รับการรับรองทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้

สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เป็นของพวกเราทุกคน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร หรืออยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ จะมีความเชื่ออะไร หรือใช้ชีวิตแบบไหน สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทาง ศีลธรรมหรือจารีต ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอ เป็นสิทธิทางกฎหมาย ในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ “ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะ ผู้นั้นเป็นมนุษย์” และซึ่ง “มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน” โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิด หรือสถานภาพอื่นใด

สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกันสำหรับทุกคน สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรม และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมาน และการประหารชีวิต

สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปได้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ เช่น ความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ สิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรมเท่านั้น แต่คือแนวคิดที่ได้รับการนิยาม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ (Holocaust-ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือพันธุฆาต) ก่อนที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะมีมติเห็นชอบ “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” (The Universal Declaration of Human Rights: UDHR) เพื่อเป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491)

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแบ่งสิทธิและเสรีภาพออกเป็น 30 หมวด เช่น สิทธิในการแสวงหาที่ลี้ภัย สิทธิในการมีเสรีภาพจากการทรมาน สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการศึกษา

ไม่มีใครสามารถพรากสิทธิและเสรีภาพนี้ไปจากเราได้ เพราะสิทธิและเสรีภาพนี้เป็นของพวกเราทุกคน ซึ่งนับตั้งแต่มีการกำหนดปฏิญญานี้ขึ้นเมื่อเจ็ดสิบปีที่แล้ว ปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชนได้ถูกใช้เป็นรากฐานของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทุกฉบับ

สิทธิมนุษยชนมีคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชาคมโลก ดังนี้

มีความเป็นสากล : สิทธิมนุษยชนเป็นของมนุษย์ทุกคน, พรากไปไม่ได้ : สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปจากเราได้ และไม่สามารถแบ่งแยกได้ เพราะสิทธิทุกสิทธิล้วนเกี่ยวข้องกัน : รัฐบาลไม่สามารถเลือกที่จะเคารพสิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ สิทธิทุกสิทธิต้องได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน