ทะลุคนทะลวงข่าว

เขย่าทั้งวงการเมืองและโลกโซเชี่ยล ต่อกรณีสมาชิกสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โหวตเลือก เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ เป็นประธานสภานิสิตคนต่อไป เมื่อวันที่ 4 พ.ค.

ด้วยคะแนน 27 เสียงจากสมาชิกสภานิสิตจากทุกคณะที่เข้าประชุม 36 คน

ก่อให้เกิดกระแสขึ้นมากมาย ทั้งจากกลุ่มต่อต้านไม่พอใจกับกลุ่มให้การสนับสนุน ทั้งภายในรั้วจามจุรีและสังคมภายนอก

โดยเฉพาะแนวคิดของ เนติวิทย์ ไม่เห็นด้วยกับวัฒนธรรมหมอบกราบ โดยชี้ว่าในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงให้ยกเลิกไปแล้ว

ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ทั้งจากนักเลงคีย์บอร์ด อดีตนิสิตจุฬาฯ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงอื่นๆ

ขณะที่ ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ถึงปรากฏการณ์เนติวิทย์ว่า

เป็นการสะท้อนพลังของคนรุ่นใหม่ที่เบื่อการเมืองแบบจารีตนิยมที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และพวกเขาต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ตอบสนองเขามากขึ้น

เหตุการณ์ความขัดแย้งที่มีมา 10 กว่าปี ตั้งแต่พวกเขายังเป็นเด็กมันเริ่มแล้วมา ตอนนี้เป็นนิสิตรุ่นนี้ซึมซับมาตลอด เห็นมาตั้งแต่เด็ก คงมีความคิดบางอย่างว่าสังคมไทยต้องเปลี่ยนแปลง เขาคงรอเวลาอยู่ ซึ่งมันไม่หนีไปไหน เพราะคนรุ่นนี้อีกไม่นานจะได้อำนาจปกครองประเทศ

แต่คนแก่ 60-70-80 ปี ไม่อยากจะปล่อย ซึ่งไม่ปล่อยไม่ได้เพราะต้องตายกันหมด

สิ่งที่ฝ่ายอนุรักษนิยมกังวลคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในจุฬาฯ ซึ่งมันไม่ใช่แค่ในจุฬาฯ แต่มันคือแนวโน้มของสังคม ทั้งสังคมมหาวิทยาลัยและสังคมประเทศไทยทั้งหมด

ดังนั้น หน้าที่ของฝ่ายอนุรักษนิยมคือ ต้องหยุดกระแสนั้นให้ได้ก่อนที่จะลุกลามบานปลาย

แต่ผ่านไปไม่กี่วัน ก็มีเหตุการณ์ ชาย 2 คน ขับขี่รถจักรยานยนต์สีดำ โดยคนขับใส่เสื้อสีฟ้า สวมหมวกกันน็อก ขณะที่คนซ้อนใส่เสื้อขาวแขนยาวคล้ายชุดนักศึกษา ขับขี่เข้าไปหน้าอาคาร สำราญราษฎร์บริรักษ์ หรืออาคารรัฐศาสตร์ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

สอบถามหาตัว เนติวิทย์ ในกลุ่มนักศึกษา พร้อมพูดจาด้วยถ้อยคำข่มขู่ หยาบคาย แต่ไม่พบตัว จึงขับรถออกไป

เกรงว่าอาจจะเป็นการคุกคาม จึงเดินทางไปสน.ปทุมวัน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เพื่อแจ้งความและลงบันทึกประจำวัน

พร้อมยอมรับว่ากลัว แต่จะสู้ต่อไปด้วยสันติวิธี อย่าป่าเถื่อน

ขอให้พูดคุยกันด้วยเหตุผล เชื่อว่าการชนะความเกลียดต้องด้วยความรัก ความเคารพในสิทธิของผู้อื่น

ก่อนเข้าให้ปากคำอีกครั้งหลังได้รับแจ้งจาก บัญชา ชลาภิรมย์ รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนิสิต

ก่อนหน้านี้ รองธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ยอมรับมีศิษย์เก่าโทรศัพท์ เข้ามาสอบถามถึงแนวคิดของเนติวิทย์มากมาย ส่วนใหญ่จะแสดงความห่วงใยว่าหากเปลี่ยนแปลงวิธีการ จะเป็นการรื้อวัฒนธรรมซึ่งส่วนใหญ่รับไม่ได้ ก่อนหน้านี้นายเนติวิทย์ เป็นนักเคลื่อนไหวอิสระ ซึ่งสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

แต่ขณะนี้นายเนติวิทย์ มีตำแหน่งประธานสภานิสิตจุฬาฯแล้ว มีหมวกที่สวมอยู่ ทั้งเป็นผู้นำองค์กร คงต้องระมัด ระวังเรื่องพูดแสดงความคิดเห็น รวมทั้งต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองด้วย

อดีตรองคณบดีคณะครุศาสตร์ และขึ้นเป็นคณบดีคณะครุศาสตร์ ในปี 2557

พ.ค. 2559 เป็นรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนิสิต

ขณะที่ พ.ต.อ.ธวัชเกียรติ จินดาควรสนองผกก.สน.ปทุมวัน เจ้าของคดี

อดีตผกก.สน.บางคอแหลม โยกมา ผกก.สน.บางนา เมื่อมิ.ย. 2556

จากนั้นเป็น ผกก.สน.สายไหม ก่อนมาเป็นผกก.สน.ปทุมวัน

เผยความคืบหน้าของคดีว่า คืบหน้ามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว

ทราบตัวผู้ก่อเหตุเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้จะประสานให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสน.ปทุมวัน ติดตามตัวทั้งคู่ ซึ่งเป็นนักศึกษาสถาบันใกล้เคียงมารับทราบข้อกล่าวหา ก่อนนำตัวส่งฟ้องศาลแขวงปทุมวัน

คาดว่าเสร็จในวันที่ 15 พ.ค.นี้ หากผู้ก่อเหตุยังไม่ยินยอมมาเข้าพบ เจ้าหน้าที่ จะออกหมายเรียก แต่หากยังเพิกเฉยอีกจะออกหมายจับต่อไป

เบื้องต้นผู้ก่อเหตุเป็นนักศึกษาต่างสถาบัน ซึ่งมีความเห็นต่างทางความคิด แต่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเมือง

แต่เกิดจากความคึกคะนอง

เช่นเดียวกับ ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 1) ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา

อดีตผอ.ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาฯ และก่อตั้งมูลนิธิ “พันดารา” ส่งเสริมภูมิปัญญาทิเบต/หิมาลัย

โพสต์ระบุ อาจเป็นไปได้ว่าคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่มั่นใจในสถานการณ์ เป็นอาการของสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงแล้วมีคนหวาดกลัว ไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง อยากกลับไปที่จุดเดิม จึงเกิดความวิตกกังวล

1.บัญชา ชลาภิรมย์ 2.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ 3.พ.ต.อ.ธวัชเกียรติ จินดาควรสนอง

“เข้ามาข่มขู่เนติวิทย์ จุดหมายจริงๆ คือให้เขาเงียบๆ แล้วต่อจากนั้นก็คือให้ฝ่ายก้าวหน้าเงียบ เพื่อให้เกิดบรรยากาศความกลัว ไม่ต้องใช้เหตุผล”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน