18 .. ฤกษ์ถลก

คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม

ทิ้งหมัดเข้ามุมหลังจากยื้อและอึกอักอยู่นาน ในที่สุดรัฐบาลและพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ก็หนีเวทีสภาไม่พ้น

นั่นคือญัตติอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 กรณีนายกฯนำคณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วนถ้อยความตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161

รวมถึงกรณีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่แจ้งที่มาของรายได้ที่จะใช้ดำเนินการ ตามมาตรา 162

รัฐบาลและผู้สนับสนุนพยายามสรรหาคำอธิบายแก้ต่างว่าเรื่องดังกล่าวผ่านไปแล้ว ไม่ควรฟื้นฝอยขึ้นมาอีก

โดยเฉพาะรองนายกฯฝ่ายกฎหมาย ใช้ชั้นเชิงและครูกฎหมายโหมช่วยด้วยวาทกรรมแบบศรีธนญชัย

สุดท้ายก็จนมุมด้วยหนังสือที่เขียนขึ้นมาเอง

ยิ่งเมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติชี้ชัดว่า พล..ประยุทธ์กล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

รัฐบาลและผู้สนับสนุนก็ยังดันทุรังต่อว่าเมื่อเรื่องเข้าสู่กระบวนการศาลแล้ว ก็ไม่สมควรหยิบมาวิพากษ์วิจารณ์อีก

ทั้งๆ ที่กระบวนทางสภานั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ อำนาจตุลาการในเรื่องนี้

ที่ผ่านมานั้น มีข้อสงสัยที่ไม่เคยได้รับคำชี้แจงจากพล..ประยุทธ์เลย ก็คือทำไมถึงมีความผิดพลาดเกิดขึ้น

นอกจากกล่าวไม่ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้แล้ว ยังเพิ่มถ้อยคำอื่นที่ไม่ได้บัญญัติไว้อีก

ทั้งๆ ที่เมื่อครั้งที่พล..ประยุทธ์เป็น นายกฯตอนยึดอำนาจ ก็สามารถกล่าวได้ถูกต้อง ครบถ้วน

พล..ประยุทธ์หลบเลี่ยงมาโดยตลอด แม้จะพยายามชี้แจงอยู่บ้าง แต่ก็อ้อมค้อม อ้ำอึ้ง

การตอบญัตตินี้ในการอภิปรายในสภา จึงเป็นโอกาสของพล..ประยุทธ์ที่จะได้อธิบายความ และตอบข้อซักถามอย่างตรงไปตรงมา

สง่างามและองอาจกว่าการปล่อยให้เรื่องนี้คาราคาซัง ถูกวิพากษ์วิจารณ์จนอาจกระทบถึงสถาบัน

ความจริงการเลือกเอาวันที่ 18 .. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จะปิดสมัยประชุมในการชี้แจงญัตตินี้ กลายเป็นข้อครหาว่ารัฐบาลใจแคบและกลัวยืดเยื้อข้ามวัน

ยิ่งมีข่าวพรรคพลังประชารัฐจัดเตรียมองครักษ์ไว้คอยปกปัก ตัดเกมการอภิปราย

รัฐบาลก็ยิ่งเสียหายไปอีก

เภรี กุลาธรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน