ภิกษุโกนผม – คําถาม “ทำไมพระภิกษุในพุทธศาสนาต้องโกนผม”

“การโกนผมบนศีรษะเป็นสัญลักษณ์ใดหรือ”

“ทำไมพระภิกษุในพุทธศาสนาต้องห่มจีวร หรือเสื้อผ้าคลุมร่างกายมีสีเป็นสีเหลือง”

คำตอบ คงเป็นคำตอบที่รวมคำถามทั้ง 3 เข้าด้วยกัน

พระพุทธศาสนาอุบัติมาแล้วกว่า 2,500 ปี อุบัติขึ้นในสังคมที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์ที่มีพระเวทเป็นคัมภีร์ ทางศาสนา

ในพระเวทกำหนดฐานะของบุคคลในทางสังคมไว้เรียกว่า วรรณะ เป็น 4 วรรณะ คือ ฐานะทางสังคม หรือวรรณะคือกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคคลว่าในกลุ่มใด ชนิดใด ทำหน้าที่ ภาระและความรับผิดชอบอย่างไร (ซึ่งเราๆ ท่านๆ ก็รู้จักกันดี)

พราหมณ์ คือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ติดต่อกับอำนาจจักรวาลที่สูงสุด ทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และพฤติกรรมของผู้คนในสังคม

กษัตริย์ คือกลุ่มบุคคลผู้มีหน้าที่ปกป้อง ป้องกัน ชีวิตและทรัพย์สินของสังคม รักษาทรัพยากรของกลุ่มชนทั้งแผ่นดินและผลผลิตทางสังคม

แพศย์ คือกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในสังคมทางการผลิตของสังคม หมายถึง ผู้จัดการ นักวิชาการทางการผลิต พ่อค้า ช่างฝีมือ เกษตรกร

ศูทร คือ ผู้ใช้แรงงานในกระบวนการผลิต

การออกบวชของพระพุทธเจ้าไม่ว่าโดยความเชื่อทางพุทธประวัติของฝ่ายเถรวาทคือเบื่อหน่ายในสังสารวัฏหรือทางฝ่ายมหายาน ที่พุทธประวัติฝ่ายมหายานบันทึกว่า ออกบวชเพราะการขัดแย้งกับมนตรีของศากยวงศ์ เรื่อง การไม่ยอมทำสงคราม (อันเป็นหน้าที่ของกษัตริย์)

การไม่ยอมทำสงครามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะต้องออกจากวรรณะกษัตริย์ ซึ่งในสมัยของพระเวทตามศาสนาพราหมณ์นั้น พราหมณ์และกษัตริย์ต้องไว้มวยผมบนศีรษะ ไม่ตัดผม เพราะถือว่าผมหรือศีรษะเป็นของสูง

การปลงผมของพระพุทธเจ้าจึงเป็นการปฏิเสธการอยู่ในวรรณะกษัตริย์ และประกาศตนเป็นเสรีชนที่จะไม่ อยู่ในวรรณะใด บำเพ็ญตนในการดำรงตนอยู่ด้วยสัมมาชีพคือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น

การปลงผมหรือการโกนศีรษะของพระภิกษุในพุทธศาสนาจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีชน สัญลักษณ์ที่จะไม่เบียดเบียนผู้ใด เป็นพื้นฐานของการประกาศตนที่จะไม่ข้องเกี่ยวอยู่กับฐานะ หน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะใดของวรรณะทั้ง 4 ต่อไป

 

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน