FBIชี้คดีพุ่ง-มะกันฆ่าเพราะเกลียด – วันที่ 17 พ.ย. บีบีซีรายงานหน่วยงานสืบสวนสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอว่า อาชญากรรมเกลียดชังในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี
สถิติจากสมาพันธ์ต่อต้านการดูหมิ่น (ADL) ปี 2562 มีผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรมที่จูงใจจากความเกลียดชังจำนวน 51 ราย คิดเป็นมากกว่าสองเท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตในปี 2561
ยกตัวอย่างเมื่อเดือนส.ค.ปี 2562 ในเหตุกราดยิงที่พุ่งเป้าชาวเม็กซิกัน ที่ห้างวอลมาร์ตในเมืองเอลปาโซ รัฐเท็กซัส ทำให้มีผู้เสียชีวิต 22 ราย ทั้งอาชญากรรมเกลียดชัง กำลังเพิ่มขึ้นในสหรัฐเกือบทุกๆ ปีนับตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งกลุ่มเคลื่อนไหวระบุว่า เป็นผลมาจากวาทกรรมเหยียดผิวและการคลั่งศาสนาที่สูงขึ้น
ด้าน ซินหัว รายงานเพิ่มเติมว่า บรรดาหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย 15,588 แห่งที่ให้ข้อมูลแก่เอฟบีไอในปี 2562 มี 2,172 แห่งที่รายงานพบเหตุอาชญากรรมจากความเกลียดชัง 7,314 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากยอดเดิมที่ 7,120 ครั้งในปี 2018

แฟ้มภาพซินหัว : เด็กหญิงคนหนึ่งถ่ายภาพกับข้อความ “แบล็ก ไลฟ์ แมตเทอร์” (Black Lives Matter) ระหว่างการประท้วงต่อต้านความอยุติธรรมทางเชื้อชาติ เนื่องในวันจูนทีนธ์ ใกล้ทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา วันที่ 19 มิ.ย. 2020
โจนาธาน กรีนแบลตต์ ประธานกรรมการสมาพันธ์ แถลงว่า “เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรรมจากความเกลียดชัง เมื่อนั้นความเจ็บปวดย่อมบังเกิดแก่ทั้งชุมชน นั่นคือเหตุผลที่ผู้คนรู้สึกอ่อนแอและหวาดกลัว”
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าอาชญากรรมจากความเกลียดชังเคยมีแนวโน้มลดลงหลังแตะระดับสูงสุดในปี 2008 แต่ปรากฏการเติบโตอย่างต่อเนื่องเกือบทุกปีตั้งแต่ปี 2557
อาชญากรรมที่มีที่มาจากประเด็นเชื้อชาติยังคงเป็นอาชญากรรมจากความเกลียดชังที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในรอบเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา

TOPSHOT – Protesters gather in front of a liquor store in flames near the Third Police Precinct on May 28, 2020 in Minneapolis, Minnesota, during a protest over the death of George Floyd, an unarmed black man, who died after a police officer kneeled on his neck for several minutes. (Photo by kerem yucel / AFP)
ยเอฟบีไอรายงานสถิติปี 2562 ว่าร้อยละ 48.4 ของอาชญากรรมจากประเด็นเชื้อชาติ เกิดขึ้นเพื่อแสดงการต่อต้านคนผิวดำ นอกจากนี้ ยังมีมูลเหตุจูงใจจากอคติทางศาสนา พบว่าร้อยละ 60.3 นั้นเป็นการต่อต้านชาวยิว
เอฟบีไอให้คำนิยาม “อาชญากรรมจากความเกลียดชัง” ว่าเป็น “ความผิดทางอาญาซึ่งมีแรงจูงใจบางส่วนหรือทั้งหมดมาจากอคติของผู้ก่อเหตุด้านเชื้อชาติ ศาสนา ความทุพพลภาพ รสนิยมทางเพศ ชาติพันธุ์ เพศ หรืออัตลักษณ์ทางเพศ”