รายงานฉบับใหม่โดยองค์การยูเนสโก องค์การยูนิเซฟ และธนาคารโลก พบว่าเด็กนักเรียนในเกือบทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญภาวะถดถอยทางความรู้ ซึ่งเป็นผลมาจากการปิดโรงเรียนอย่างต่อเนื่องในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะเด็กจากครอบครัวยากจน เด็กในพื้นที่ห่างไกล เด็กพิการ เด็กเล็ก ซึ่งเผชิญปัญหานี้รุนแรงที่สุด

รายงานฉบับดังกล่าวเผยแพร่เมื่อ เร็วๆ นี้ โดยมี นางสเตฟาเนีย จิอานนีนี ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ด้านการศึกษา องค์การยูเนสโก พร้อม นายโรเบิร์ต เจนกินส์ ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา องค์การยูนิเซฟ และ นายเจมี ซาเวดรา ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา ธนาคารโลก ออกแถลงการณ์ ร่วมกันเพื่อเรียกร้องให้นานาประเทศ ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยให้เด็กทุกคนกลับมาเรียนหนังสือและชดเชยความรู้ที่ถดถอย

คำแถลงการณ์ร่วมระบุว่า “นับตั้งแต่ปิดโรงเรียนในเดือนมี.ค. 2563 เด็กนักเรียนทั่วโลกสูญเสียชั่วโมงเรียนไปมากกว่าสองล้านล้านชั่วโมง และเด็กๆ มากกว่า 4 ใน 5 ประเทศมีการเรียนรู้ที่ถดถอย ทักษะขั้นพื้นฐานในทุกมิติที่เด็กๆ สะสมไว้กำลังหายไป เด็กๆ ลืมวิธีการอ่านและเขียน บางคนจำไม่ได้แม้แต่ตัวอักษร เด็กเล็กในเกือบทุกประเทศซึ่งกำลัง จะเริ่มเข้าเรียนต่างไม่มีโอกาสเรียนรู้ทักษะเหล่านี้เนื่องจากการศึกษาปฐมวัยที่ขาดหายไป”

ในประเทศไทย การปิดโรงเรียนอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อเด็กนับล้านคน โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเปราะบางที่เข้าไม่ ถึงการเรียนออนไลน์ ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2563 พบว่าครอบครัวในประเทศไทยเกือบครึ่งหนึ่งไม่พร้อมให้ลูกเรียนออนไลน์

นางคยองซัน คิม ผู้อำนวยการองค์ การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า ยูนิเซฟมุ่งมั่นทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและพันธมิตรอื่นๆ เพื่อปกป้อง เด็กๆ จากการเรียนรู้ที่ถดถอยและการถูกทิ้งไว้ข้างหลังในโอกาสที่ภาคการศึกษาใหม่กำลังจะเริ่มขึ้นเราต้องดำเนินการ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆ จะได้รับการสนับสนุน ในทุกด้านเพื่อให้พวกเขากลับมาเรียนตามบทเรียนได้ทันและเรียนรู้มากยิ่งกว่าที่พวกเขาเสียไป

“เราต้องรีบเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นแล้วเด็กทั้งรุ่นอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบที่แก้กลับคืนมาไม่ได้” นางคยองซัน คิม กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน