คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

โครงข่าย การเมือง – วันที่ 7 สิงหาคม ก่อให้เกิดนัยประหวัดไปยัง 2 เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ อย่างแรกที่สุดก็คือ นึกถึงสถานการณ์ ‘เสียงปืนแตก’ ณ บ้านนาบัว อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เมื่อปี 2508 สัมพันธ์กับการต่อสู้ด้วยอาวุธของ ‘พรรคคอมมิวนิสต์’ อย่างหลังสัมพันธ์กับสถานการณ์การทำ ‘ประชามติ’ จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เมื่อปี 2559 สำหรับคนยุคนี้ผูกพันกับเมื่อปี 2559 มากกว่าเมื่อปี 2508 การเลือกเคลื่อนไหวในวันที่ 7 สิงหาคม สัมพันธ์กับ ‘อดีต’ มากน้อยเพียงใด หากดูจากบทบาทของ ‘เยาวชนปลดแอก’ หากดูจากบทบาทของ ‘กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย’ พวกเขาอาจเคยรับรู้สถานการณ์ ‘เสียงปืนแตก’ อยู่บ้าง แต่ก็ห่างไกลอย่างยิ่งเพราะเป็นเรื่องตั้งแต่เมื่อปี 2508 ตรงกันข้าม สถานการณ์การลง ‘ประชามติ’ อันเป็นการรับรองรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 จะก่อให้เกิดความหงุดหงิดและไม่พอใจมากกว่า เพราะคือการสืบทอดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา การเคลื่อนไหว 7 สิงหาคมจึงมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น ‘เป้าหมาย’ เพราะหากไม่มีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 การดำรงอยู่ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ไม่อาจบังเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุม ‘ประชาธิปไตย’ ความปั่นป่วนวุ่นวายจากความขาดแคลน ‘วัคซีน’ คงไม่ปรากฏให้เห็น สถานการณ์การป่วยไข้และล้มตายของประชาชน คนแล้ว คนเล่า ศพแล้ว ศพเล่า หลายพันศพต่างหากคือแรงผลักดันอย่างสำคัญให้ออกมาบนท้องถนน แม้จะรู้ว่าต้องเผชิญกับมาตรการเข้มข้น หนักหนาอย่างยิ่ง ไม่มีใครคาดหมายได้ว่าจะมีคนเข้าร่วมสถาน การณ์ 7 สิงหาคมมากน้อยเพียงใด เพียงเห็นมาตรการ ‘ป้องปราม’ ที่ออกมาชุดแล้วชุดเล่า พร้อมกับการจัดวางป้อมปราการเพื่อยับยั้งและสกัดกั้นก็แทบมองไม่เห็นช่องทางในการเคลื่อนตัว ตรงนี้ต่างหากที่ทำให้การติดตาม 7 สิงหาคมมีความสำคัญ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน