FootNote วุฒิภาวะ เยาวชน ปลดแอก กับ 3 ข้อเรียกร้อง การเมือง

ต้องยอมรับว่าการปรากฏขึ้นของ”เยาวชนปลดแอก”เมื่อตอนค่ำของ วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม บนถนนราชดำเนิน บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

แม้จะเป็นการปรากฏขึ้นพร้อมกับข้อเสนอ 3 ข้อทางการเมือง

นั่นก็คือ 1 หยุดคุกคามประชาชน นั่นก็คือ 1 ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย และ 1 เมื่อทุกอย่างพร้อมสรรพแล้วก็ควรจะมีการยุบสภาเพื่อมอบโอนอำนาจให้ประชาชน

แต่ก็ปรากฏน้ำเสียงหยามหยันดังมาจากกองทัพบกว่าเป็น”ม็อบมุ้งมิ้ง” ประสานเข้ากับ “ม็อบฟันน้ำนม”

กระนั้น ผลสะเทือนอันตามมาอย่างเหนือความคาดหมายก็คือ การปรากฏขึ้นของแฟล็ชม็อบจำนวนมากมายเหมือนที่เคยเกิดขึ้นใน เดือนกุมภาพันธ์ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด

ที่สำคัญก็คือ ทุกการเคลื่อนไหวไม่ว่าเหนือใต้ตกออกล้วนขานรับต่อข้อเรียกร้อง 3 ข้อจาก”เยาวชนปลดแอก”

ตรงนี้ต่างหากคือบทบาท คือความหมาย คือความสำคัญ

 

แม้ว่าข้อเรียกร้อง”หยุดการคุกคามประชาชน”จะไม่มีการขานรับอย่างจริงจังจากรัฐบาล เพราะปรากฏรูปธรรมการคุกคามอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะมาจากทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ทั้งในและนอกเครื่องแบบ

ไม่ว่าจะมาจากครูอาจารย์ตามโรงเรียน มหาวิทยาลัย

แต่ข้อเรียกร้องในเรื่อง”ร่างรัฐธรรมนูญใหม่”ก็เริ่มมีการสนองตอบด้วยหลายท่าทีทั้งจากรัฐบาลและจากกลุ่มการเมืองทั้งในและนอกรัฐสภา

ก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งการถกเถียงเพื่อนำไปสู่บทสรุปร่วมกันว่าสมควรจะดำเนินการอย่างไร แม้กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็แสดงความเห็นด้วย

ช่วงเวลานี้เองจึงเป็นช่วงเวลาแห่งการจำแนกแยกแยะ

แยกแยะว่าที่ว่าเห็นด้วยนั้นจริงใจหรือไม่ หรือเสมอว่าเป็นเพียง การเสแสร้งแกล้งเตะถ่วงซื้อเวลาไปเท่านั้นเอง

 

จาก”เยาวชนปลดแอก”เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม มาสู่”คณะประชาชนปลดแอก”ในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคมก็สัมผัสได้ในพัฒนาการ

3 ข้อเรียกร้องยังคงอยู่ แต่ได้เพิ่มมาอีก 2 ประการนั่นก็คือ 1 คัดค้านการรัฐประหาร 1 คัดค้านรัฐบาลแห่งชาติ

พัฒนาการนี้สะท้อน”วุฒิภาวะ”ทางการเมืองอย่างเต็มเปี่ยม

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน