สัมภาษณ์พิเศษ : ...ทวี สอดส่อง ประชาชาติตัวแปรตั้งรัฐบาล

ประชาชาติตัวแปรตั้งรัฐบาล : ...ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ (ปช.) วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง ปัจจัยต่างๆ ที่อาจนำไปสู่เหตุการณ์ ซ้ำรอยทั้งที่เกิดในปี 2535 และปี 2553 พรรคตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงอายุของรัฐบาลใหม่

สถานการณ์การเมืองที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ ผมมองว่ารัฐธรรมนูญ 2560 จะเหมือนรัฐธรรมนูญ 2534 สรุปคือ ประธานร่างรัฐธรรมนูญคนเดียวกัน นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ

รัฐธรรมนูญ 2534 ..มาจากการ แต่งตั้งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อย แห่งชาติ (รสช.) โดยประธาน ในช่วงแรก 6 ปี ครบ 3 ปี จะจับสลากออกครึ่งหนึ่งและแต่งตั้งเข้ามาแทน ส่วนรัฐธรรมนูญ 2560 ..มาจากการแต่งตั้งของ คสช. 250 คน ในจำนวนนี้มีปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ. 4 เหล่าทัพ และ ผบ.ตร.เป็นส..โดยตำแหน่งอยู่ด้วย

รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ นายกรัฐมนตรี มาจากคนนอกได้

รัฐธรรมนูญ 2534 รสช.อยู่เบื้องหลังการตั้งพรรคสามัคคีธรรม แต่ฉบับปี 2560 เป็นที่รู้กันดีว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ตั้งพรรคพลังประชารัฐ แม้แต่หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และโฆษกพรรค ยังเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. และไม่ยอมลาออกแม้มีกฎหมายเลือกตั้งแล้ว

แต่รัฐธรรมนูญ 2560 มีอำนาจพิเศษมากกว่า คือ คสช.สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 44 อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง การเลือกส.. 2 ระบบ จำนวน 500 ที่นั่ง แต่ให้กาบัตรใบเดียว บัตรเลือกตั้งมีเพียง 350 ใบ ซึ่งส..บัญชีรายชื่อไม่มีบัตรเลือกตั้ง ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเรียกระบบนี้ว่า ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม เลือกคนได้พรรค เลือกพรรคได้คน

การให้ส..แต่งตั้ง 250 คนมีอำนาจร่วมโหวตเลือกนายกฯ การกำหนดให้การแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลต้องอยู่ในกรอบหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐและยุทธศาสตร์ชาติ

การใช้บังคับยุทธศาสตร์ชาติเป็นเวลา 20 ปี แต่รัฐธรรมนูญกลับย้อนหลังไปปี 2534 ประมาณเกือบ 30 ปี ผู้กำหนดยุทธศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นคนแก่ จะย้อนไปถึงเหตุการณ์ในอดีตแล้วเข้าใจว่าสภาพบ้านเมืองไม่มีการเปลี่ยนแปลง

รัฐธรรมนูญ 2560 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระมากจนล้นเกิน และบุคคลดังกล่าวมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. และมีข้อสังเกตว่าให้ประธานศาลฎีกา ซึ่งเป็นองค์กรตุลาการ (ต้องแยกอำนาจ) ไปแต่งตั้งฝ่ายบริหาร และองค์กรนิติบัญญัติ จึงใช้ตุลาการเป็นเครื่องมือของเผด็จการ รวมทั้งกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ยากผิดปกติ

ปัจจัยเหล่านี้มีความล่อแหลม ที่อาจทำให้การเมืองไทยทั้งระบบถึงทางตัน สับสนอลหม่าน หรือถึงขั้นล่มสลายได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง

แนวโน้มสถานการณ์การเมืองปีนี้จะคล้ายคลึงกับปี 2535 คือ รสช.ตั้งพรรคสามัคคีธรรม หลังเลือกตั้งจะมีการรวมตัวระหว่าง 5 พรรค คือ สามัคคีธรรม ชาติไทย กิจสังคม ประชากรไทย และราษฎร แต่งตั้งคนนอกเป็นนายกฯ พล..สุจินดา คราประยูร ได้เป็นนายกฯ ในที่สุด

ครั้งนี้เชื่อว่าหลังเลือกตั้งพรรคพลังประชารัฐจะรวมตัวกับส..แต่งตั้ง 250 คน และรวมกับพรรคที่ไม่มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย เสนอแต่งตั้ง พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ สืบทอดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง

แต่จากข้อเท็จจริงของปี 2535 พล..สุจินดาเป็นนายกฯ ได้ 48 วัน ก็เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญ ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมือง และต่อต้าน การสืบทอดอำนาจของ รสช. ระหว่างวันที่ 17-24 .. 2535

พล..สุจินดาเป็นนายกฯ 48 วัน ส่วนหลังเลือกตั้งปี 2562 รัฐบาลจะอยู่ยาวแค่ไหนนั้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญมีความ ขัดแย้งในตัวเองคือ เลือกนายกฯ โดยรัฐสภา คือ 2 สภา สมาชิกจำนวน 750 คน แต่บริหารประเทศโดยสภาผู้แทนราษฎรที่มีส.. 500 คน โอกาสที่นายกฯ และครม.มี จำนวนส..ไม่ถึงครึ่งหนึ่งเกิดขึ้นได้ ดังนั้น การแก้รัฐธรรมนูญเป็นอีกช่องทางในการยืดอายุรัฐบาลใหม่ ผมเห็นว่ากระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ยากผิดปกติ ดังนั้น ควรต้องทำประชามติกับประชาชนว่าจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ หากมีประชามติให้แก้จึงควรตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เช่นเดียวหรือคล้ายกับการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญ

แม้รัฐธรรมนูญปี 2534 จะแก้ถึง 6 ครั้ง อาทิ แก้ไขให้นายกฯ มาจากส..เท่านั้น แก้ให้ยกเลิก อำนาจส.. อภิปรายและอนุมัติพระราชกำหนด แก้ให้ประธานรัฐสภาที่เดิมมาจากประธานวุฒิสภา เป็นมาจากประธานสภาผู้แทนราษฎร แก้ให้นัก การเมืองต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ซึ่งปัจจุบัน คสช.ได้สั่งการด้วยมาตรา 44 ให้ตำแหน่งอาจารย์และทหารไม่ต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน

ที่สำคัญได้แต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญมาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ถือเป็นการแก้หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2534 ไป

เลือกตั้งครั้งนี้พรรคการเมืองมี 2 ขั้วชัดเจน คือ ขั้วฝ่ายประชาธิปไตย กับขั้วหนุนพล..ประยุทธ์ พรรคประชาชาติมองว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร

คำถามนี้มองการเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองระหว่างเผด็จการ และนักประชาธิปไตย จะทำให้บ้านเมืองเกิดความขัดแย้ง เช่น เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ที่เป็นบาดแผลได้ แต่ปัจจุบันทุกฝ่ายมีบทเรียนจากบาดแผลในอดีต ซึ่งพรรคประชาชาติมีความคิดเรื่องพหุวัฒนธรรมที่การเมืองต้องเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นประชาธิปไตยที่ต้องมีสัดส่วนของทุกชาติพันธุ์เข้ามา

ทั้งนี้ พรรคประชาชาติจะไม่อยู่ใน 2 ขั้วการเมืองดังกล่าว เราจะอยู่เพื่อเป็นขั้วใหญ่เป็นขั้วของประชาชน ประโยชน์สูงสุด และความรุ่งเรืองของประชาชนจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญ ในท้ายที่สุดประชาชนจะไม่เลือกความขัดแย้ง

หลังเลือกตั้งรัฐบาลใหม่จะอยู่ได้นานแค่ไหน

ถ้าเอากรณีของรัฐธรรมนูญ 2534 มาตั้ง รัฐบาลใหม่จะอยู่ได้ไม่เกิน 2 เดือน แต่ในครั้งนี้ คสช.เตรียมการมาอย่างดี เพื่อแย่งชิงความนิยมจากประชาชน เช่น การใช้เงินในบัตรคนจน เพื่อเอาใจคนจน รวมทั้งไปดูดอดีตส..จากพรรคต่างๆ เพื่อหวังว่าจะได้ส..ให้มาก แต่ความคิดดังกล่าวก็เหมือนสมัยปี 2535 ที่เอาบุคคลที่ รสช.เคยตรวจสอบทรัพย์สินว่าเคยทุจริตมาร่วมรัฐบาล เช่น การกระทำของพรรคพลังประชารัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

ปัจจัยที่นำไปสู่ความวุ่นวายหลังเลือกตั้ง

การต้องการสืบทอดอำนาจของ คสช. รวมทั้งเรื่องความศรัทธาในตัวบุคคล วันนี้บางพรรคอาจจะดูกระแสดี แต่ส่วนหนึ่งประชาชนก็ดูเรื่องตัวบุคคลว่าเขาศรัทธาได้แค่ไหน ซึ่งพรรคประชาชาติเป็นพรรคที่มีกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญกับคนทุกกลุ่มในสังคม ไม่ว่าจะเป็นคนตัวเล็กตัวน้อย หรือกลุ่มต่างๆ

มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนว่าจะเกิดเหตุเหมือนปี 2535 หรือ 2553

เหตุการณ์น่าจะเหมือนพฤษภาทมิฬ 2535 หรืออาจจะเหมือนเหตุการณ์ปี 2553 ที่เกิดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางส่วน และไปตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร จนทำให้คนออกมาเดินขบวน และมีการปราบปรามประชาชน แต่เชื่อว่าความรู้สึกและการรับรู้ของสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตบ้าง เห็นได้จากบุคคลบางคน (ส่วนน้อย) ที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยยังมีเปลี่ยนแปลงวางเฉย และมีบางคนให้การสนับสนุนเผด็จการก็มี

แต่ในอุดมการณ์ของพรรคประชาชาติเรามุ่งแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรม การกดขี่ การทุจริต ความขัดแย้งทางสังคม ด้วยกระบวนการทางประชาธิปไตย และไม่ส่งเสริมการใช้กำลัง หรืออำนาจเผด็จการ ดังนั้น พรรคประชาชาติจึงมีช่องทางขับเคลื่อน เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และคุ้มครองในแนวทางของประชาธิปไตย

ที่สำคัญทั้ง 2 เหตุการณ์เป็นโศกนาฏกรรม ที่มีการ สูญเสียของทุกฝ่าย ซึ่งเชื่อว่าไม่เกิดขึ้นอีก

ถ้าพรรคพลังประชารัฐชนะเลือกตั้ง แต่นายกฯ ไม่ใช่พล..ประยุทธ์ พรรคประชาชาติมีความเห็นอย่างไร จะจับมือร่วมรัฐบาลหรือไม่

เป็นคำถามสมมติ แต่หากตอบไปเป็นเรื่องสมมติ จึงคิดว่าไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ และข้อเท็จจริงก็ไม่น่าเป็นจริงตามคำถาม แต่ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นปรากฏการณ์ปกติในสังคม แต่ประชาชาติจะอาศัยข้อมูล บทเรียนจากอดีต ความรู้เป็นฐานในการคิด โดยทำปัจจุบันและอนาคตเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน หรือสาธารณะเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม พรรคประชาชาติถือว่าเป็นพรรคตัวแปรในการรวมเสียง เพราะจำนวนเสียงที่เขาจะรวมกันไม่ได้จะเท่าจำนวนของพรรคประชาชาติ คือ 15-20 คน จึงทำให้เป็นพรรคตัวแปร หมายความว่าพรรคประชาชาติจะมีความสำคัญ ซึ่งคนเราจะมีความสำคัญเมื่อมีของดี

คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน