พิธา อนาคตใหม่ อภิปรายนโยบายเกษตร เน้นทุกช็อต บิ๊กป๊อก ฟังแล้วยังทึ่ง!

วันที่ 26 ก.ค. นาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ได้อภิปรายเกี่ยว นโยบายการเกษตร ของรัฐบาล ระบุว่า เมื่อดูที่นโยบายพบว่ามันไม่ได้อยู่ระนาบเดียวกัน บางเรื่องเป็นปลายเหตุ ต้นเหตุ บางปัญหาเป็นคอขวด สำหรับตนเอง ที่ดินคือปัญหาคอขวดของปัญหาทั้งหมด เปรียบเหมือนติดกระดุม หากติดถูกจะแก้ปัญหาอื่นได้ง่ายมาก หากติดผิดปัญหาอื่นจะแก้ยาก

เกษตรกรไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการเงินปกติได้ จนต้องไปกู้นอกระบบ อยู่ในวงจรหนี้สิน ต้องเร่งใช้หนี้ การทำงานก็ต้องปลูกพืชเดิมๆ ใช้วิธีถูกที่สุด ใช้สารเคมีเยอะๆ เพื่อให้สินค้ามีความแน่นอน ปลูกพืชเน้นเชิงเดี่ยว เกษตรกรไทย จึงมีต้นทุนสูง ได้ผลต่ำ แปรรูปสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้ยาก คว้าโอกาสใหม่ๆได้ยาก ยกระดับไม่ได้ เพราะติดปัญหาอย่างเรื่องที่ดิน

กระดุมเม็ดแรกเรื่องที่ดิน มีความกระจุกตัว เหลื่อมล้ำ ไม่ชอบธรรมด้านกฎหมาย ที่ดิน 90% ครองด้วยคน 10% ชาวนา 45% ยังต้องเช่าที่ดินอยู่ ไม่นับปัญหาอื่นๆ เช่นการดึงนักลงทุนผลักดันเขตเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่แม่สอด ที่อมก๋อย เชียงใหม่ รัฐบาลมอบให้เอกชนไปทำการลงทุนได้ พื้นที่ป่าทับที่กว่า 6 ล้านไร่ ปีที่ผ่านมา มีข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชนกว่า 8,000 คดี

ตนเคยไปที่ เนินมะปราง จ.พิษณุโลก เกษตรปลูกมะม่วงส่งไปญี่ปุ่น เกาหลี แต่เกษตรกรไม่มีจีเอพี ก็ถูกกดราคา ที่อุตรดิตถ์ พี่น้องปลูกทุเรียนส่งออกไปจีน ก็ไม่มีจีเอพี ถูกกดราคาอีกเช่นกัน ทำไมเราจึงไม่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษของประชาชนชาวไทย ชาวบ้านมาร้องไห้กับตนแล้วถามว่าป่าสงวนนี่สงวนให้ใครกันแน่ ทุนใหญ่หรือประชาชน

ข้อเสนอแนะของตน ขอเสนอให้ยุติข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน ให้มีบทเฉพาะกาลให้เขาสามารถอาศัยอยู่ได้ สามารถขอน้ำ ประปา ไฟฟ้าได้ ขอให้รับรองสิทธิต่างๆได้หรือไม่

ต่อมาคือเรื่องหนี้สินเกษตรกร ทุกวันนี้เฉลี่ยมีรายได้ 57,000 ต่อปี เฉลี่ยเดือนละ 4,000 กว่าบาท กว่า 40 เปอร์เซ็นของเกษตรกรมีหนี้สินมากว่า 2 เท่าครึ่ง พวกเขาเสียดอกเบี้ย 20% ต่อเดือน ขณะที่ตนเสียเพียง 6% ต่อปี นี่คือความเหลื่อมล้ำ ต่อให้พักหนี้เขากี่ปีก็ไม่มีเปลี่ยนแปลง เป็นไปได้หรือไม่ วิธีแก้ใช้วิธีประเมินค่าใช้จ่ายในอดีตเป็นเครดิต เป็นต้น

สำหรับเรื่องกัญชา ไทยสามารถเป็นฮับกัญชาทางการแพทย์ได้ แต่ต้องห่วงเรื่องการป้องกันการผูกขาดกัญชา เพราะห่วงทุนใหญ่ผูดขาดการสกัดกัญชา จะทำอย่างไร จะทำให้ไทยเป็นฮับกัญชาการแพทย์ ไทยเป็นฮับเบอร์ 1 ของเอเชีย

สำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กระแสของโลกกำลังมาเรื่องการเกษตรเชิงท่องเที่ยว แต่ของไทยยังติดเรื่องกฎหมาย ที่ดิน ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐาน ถ้าท่านพักหนี้เกษตรกรเพียงอย่างเดียว เขาก็อยู่ได้แค่ 3 ปี จากนั้นก็กลับมา จะให้แปรรูปเขาก็ไม่มีเงินออม จะสนับสนุนท่องเที่ยวเกษตร ถ้าไม่ปลดล็อกที่ดินก็ทำไม่ได้ จำเป็นต้องเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา

เรื่องทรัพยากรน้ำ พื้นที่เพาะปลูก มีพื้นที่แล้งซ้ำซากพอๆกับพื้นที่ชลประทาน ขอเสนอเรื่องการแก้ด้วยอำนาจ ทั้งระดับประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น เช่นเรื่องแม่น้ำโขง จะทำอย่างไรให้ไม่มีความขัดแย้ง เรื่องท้องถิ่น ต้องให้อำนาจตัดสินใจเอง ในมิติเรื่องชนชั้น ควรแก้ไขเรื่องการเข้าถึงน้ำด้วยเรื่องภาษี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

ส่วนเรื่องนโยบายหลัก 12 ข้อ คำถามคือเกษตรกรไทยจะอยู่ตรงไหนบนเวทีโลก จำนวนเกษตรกรไทยลดลงเรื่อยๆ ฝากถามไปยัง ครม. มีนโยบายอะไร ที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ไปสู่ภาคการเกษตรได้ เรื่องเครื่องจักรการเกษตร

ที่อยากถามว่ามีแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรหรือไม่ และอาชีวะจะมีส่วนพัฒนาอย่างไร ตนยังมีความหวังในการแก้การเกษตร ถ้าเราจริงใจ เชื่อว่าพี่น้องเกษตรกรไทย ยังสามารถมีชีวิตอยู่ดีมีสุขได้

ด้านพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ชี้แจงตอนหนึ่งว่า ฟังดูแล้วเป็นแนวความคิดที่สร้างสรรค์มาก ไม่ปฏิเสธเลย 2-3 ท่านที่อภิปรายมามีแนวคิดดีๆหลายประการ

“ผมขอชมเชยท่านพิธา ที่พูดได้เข้าประเด็นหมด เราให้ที่สปก.และที่รกร้างว่างเปล่า พวกเขาเข้าไปทำได้เลยออกโฉนดได้ด้วย อย่างพื้นที่ ป่า อุทยาน ป่าสงวน ป่าชายเลน ทุกอย่างเราเอามาทำให้ ทุกคนต้องคิดว่าคนที่ดูแลรักษาป่าเขาไม่ใช่เจ้าของ กระทรวงทรัพยากรฯดูแลรักษาป่าให้คนทั้งชาติมีอัตรส่วนว่าจะให้คนเท่าไหร่

คนไทยที่ท่านว่าเป็นนายทุนเป็นคนมีเงินเป็นเจ้าของที่ ผมไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง สามารถพูดเรื่องนี้ดังๆ ได้เลย ท่านอยากให้หมดเลยท่านก็เสนอได้ ด้วยความสัตย์จริง ผมทึ่งท่าน”

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน