งานวิจัยเผย สถานการณ์โลก เผด็จการพุ่ง การต่อต้านสะพรั่ง ประเทศไทย ประชาธิปไตยถดถอย ติดอันดับโลก แม้เลือกตั้งแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นเผด็จการรูปแบบหนึ่ง

งานวิจัยเรื่อง State of the world 2019: autocratization surges – resistance grows (สถานะของโลก ปี พ.ศ.2562 พบระบอบเผด็จการพุ่ง พร้อมการต่อต้านที่เติบโต) งานวิจัยนี้ ตีพิมพ์ในเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นงานวิจัยของ Maerz และ คณะ ฯ มหาวิทยาลัยโกเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน

State of the world 2019: autocratization surges – resistance grows

งานวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับ สถานะประชาธิปไตยบนโลกในปี 2019 (พ.ศ.2562) โดยแสดงให้เห็นถึง คลื่นเผด็จการลูกที่ 3 ที่กำลังเร่งความเร็วและความลึกขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศฮังการีได้กลายเป็นสมาชิกรัฐระบอบเผด็จการแห่งแรงของสหภาพยุโรป

ทั้งนี้ ในประเทศที่ประชาธิปไตยถดถอย มักมีการโจมตีจากภาครัฐต่อภาคประชาสังคม มีการคุกคามเสรีภาพในการแสดงออก และ เสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางวิชาการ รวมถึง การทุจริตคอร์รัปชั่น ความไม่โปร่งใสของรัฐในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ซึ่งกำลังแพร่และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

The Conversation

แนวโน้มสถานการณ์ประชาธิปไตยโลก / แนวโน้มใหม่ที่น่าวิตกคือ ขณะนี้คุณภาพของการเลือกตั้งยังตกต่ำลงในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามมีสัญญาณเชิงบวกเช่นกัน เนื่องจากพบว่า มีการประท้วงต่อต้านเผด็จการเพื่อประชาธิปไตยมากขึ้นสูงสุดตลอดกาลในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ.2562) ผู้คนออกไปเดินขบวนตามท้องถนนเพื่อประท้วงการพังทลายของระบอบประชาธิปไตยของประเทศ และต่อสู้กับระบอบเผด็จการที่เกิดขึ้น

The New York Times

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การประท้วงที่ประชาชนให้ความนิยมสูงในแต่ละประเทศ มีส่วนทำให้เกิดสภาพประชาธิปไตยอย่างมากถึง 22 ประเทศ เช่น อาร์เมเนีย ตูนิเซีย และ เอกวาดอร์ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ การตอบสนองต่อวิกฤตโรคระบาด รวมถึงการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเร่งให้เกิดการปกครองแบบเผด็จการที่รวดเร็วและรุนแรงขึ้น

เส้นประ คือประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เส้นทึบคือประเทศที่เป็นระบอบเผด็จการ (Regional inventory of autocratization and democratization, 1972–2019)

มีการให้คำจำกัดความของการปกครองแบบเผด็จการ ว่าเป็นการลดลงของคุณลักษณะที่เป็นประชาธิปไตย ที่อาจเริ่มต้นในประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตย (การถดถอยประชาธิปไตย) หรืออัตตาธิปไตย (การถดถอยอัตตาธิปไตย) โดยพบว่าดัชนี เสรีประชาธิปไตย ของ V-Dem ลดลงอย่างมากและมีนัยสำคัญ

สำหรับประเทศที่มีระบอบเผด็จการเป็นหลัก

Top-10 autocratizing countries (Liberal Democracy Index, 2009–2019).

ตารางนี้ แสดงรายการประเทศที่มีประชาธิปไตยที่ ถดถอย 10 อันดับแรก ตามระดับของการเปลี่ยนแปลง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ฮังการีและตุรกี เป็นอันดับ 1 ในแง่ของการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ยังพบว่าบราซิล อินเดีย โปแลนด์ และ แซมเบีย อยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการ ในตารางนี้ มี 8 ประเทศที่ยังคงเป็นประชาธิปไตย และ 3 ประเทศในตาราง เคยเป็นประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมในปีพ.ศ. 2552 แต่ตอนนี้ส่วนใหญ่กลายเป็นระบอบเผด็จการไปเสียแล้ว

สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทย

Coconuts BKK

แม้หลังการเลือกตั้งของประเทศไทยมีขึ้นในปี พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา แต่จากการจัดอันดับของ V-Dem ยังคงจัดให้ระบอบการเมืองไทยเป็น “อัตตาธิปไตยแบบปิด” หรือ เป็น “เผด็จการที่เลือกจากกลุ่มคน” โดยประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศที่มีอัตราการถดถอยของประชาธิปไตยที่มากที่สุดในโลก

ข่าวอ่านต่อ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน