คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

บทเรียน การเมือง
ของ ธรรมนัส พรหมเผ่า
เรื่อง “การซื้อเสียง”

ภาพลักษณ์ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ภาพลักษณ์ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ อาจไม่ดีนัก

เมื่อทั้ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า และ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ออกมาตั้งข้อสังเกตในเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ในการเลือกตั้งซ่อมชุมพรและสงขลา

จึงได้รับความสนใจจาก “สื่อ” และ “สังคม”น้อย

เพียงประสบเข้ากับกระแสการโต้กลับอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะจาก นายนิพนธ์ บุญญามณี ไม่ว่าจะจาก นายเทพไท เสนพงศ์ ก็หมดฤทธ์ มิอาจก่อให้เกิดพลัง

ทั้งยังเกิดอาการ “เป๋” ในแบบของ “ปารีณา” ตามมา

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า มิได้เป็น “ละอ่อน” ในทางการเมือง

ต้องยอมรับว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สะสมความจัดเจนทางการเมืองตั้งแต่เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน ต่อเนื่องถึงพรรคเพื่อไทย

ผ่านการเลือกตั้งปี 2544 ผ่านการเลือกตั้งปี 2554

นั่นก็คือ ผ่านการต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างเข้มข้น ดุเดือด และอยู่ในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์ถูกกระหน่ำตีกลายเป็นพรรคอันดับ 2 อย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554

การเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 เป็นห้วงเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์เจ็บช้ำสูงสุด

เพราะเป็นการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านการล้อมปราบและสังหารประชาชนอย่างเหี้ยมโหดในเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553

ทั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แสดงบทบาทเต็มที่

แต่แล้วในการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 พรรคประชาธิปัตย์ต้องพ่ายแพ้ให้แก่พรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เป็นความพ่ายแพ้พร้อมกับสโลแกน “รับเงินหมา”

การเลือกตั้ง “ซ่อม” ในเดือนมกราคม 2565 กับการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554

จึงเป็นประสบการณ์ “ตรง” ที่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า มีบทเรียนทั้งในฐานะ “ผู้สังเกตการณ์” และในฐานะผู้เข้าร่วมใน “การสัประยุทธ์” อย่างชนิดหมัดต่อหมัด

จึงนำไปสู่ “บทสรุป” ในเรื่องการ “ซื้อเสียง” อย่างเด่นชัด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน