เกาะสาก, ประเทศไทย, 13 กันยายน 2562 ท่านทูต เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย นำผู้ร่วมกิจกรรมกว่า 150 คน รวมถึงนักการทูตและเจ้าหน้าที่ชาวไทยจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (the Delegation of the European Union) และอาสาสมัคร เข้าร่วมกิจกรรม EU Beach Cleanup 2019 เพื่อทำความสะอาดชายหาดเกาะสาก ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งพัทยา แม้ว่าในปี 2562 การเก็บขยะจะเป็นที่นิยมแพร่หลาย แต่สหภาพยุโรปดำเนินกิจกรรมนี้เป็นปีที่ 2 แล้ว โดยร่วมมือกับทีมวิจัยจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) เพื่อจัดการกับมลภาวะจากพลาสติกและขยะทะเล

สหภาพยุโรปดำเนินการสอดคล้องกับเทรนด์ #trashtag ทั่วโลก โดยร่วมมือกับดร. เวย์น ฟิลิปส์ อาจารย์จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้างานวิจัยที่ศึกษาระบบนิเวศบนเกาะมาเป็นเวลานาน โดยทำโครงการ Project Koh Sak ซึ่งเน้นประเด็นสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย อีกทั้งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว ได้แก่ การป้องกันและฟื้นฟูปะการัง รวมถึงการตรวจสอบอันตรายของพลาสติกที่มีต่อสุขภาพของแนวปะการัง การทำความสะอาดชายหาดซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้นไม่ได้ช่วยให้แต่ละคนตระหนักถึงการลดมลภาวะได้ด้วยการเก็บขยะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรื่องวงจรชีวิตของพลาสติก ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงผลกระทบต่อระบบแนวปะการัง ห่วงโซ่อาหาร และสุขภาพของมนุษย์

สหภาพยุโรปยังเชื่อมโยงการทำความสะอาดชายหาดเข้ากับการพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ระดับโลก รวมทั้งชี้แจงความเข้าใจผิดที่บางคนมีมานานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยท่านเอกอัครราชทูตตาปิโอลาได้อธิบายว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ ความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับตัว และการลดการปล่อยมลพิษไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์ที่ขัดแย้งกัน ในทางตรงกันข้าม เราสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งหมดได้ในครั้งเดียวหากมีนโยบายอันชาญฉลาดด้านสิ่งแวดล้อม ทะเล และภูมิอากาศ เราต้องการให้คนทั่วโลกร่วมกันปกป้องระบบนิเวศชายฝั่งอันมีค่า รวมทั้งสิ่งสำคัญต่าง ที่ระบบนิเวศนี้มอบให้

การเก็บขวดพลาสติกกว่า 3,000 ขวดบนเกาะเล็ก ในเวลาอันสั้นแสดงให้ทุกคนเห็นปัญหาได้ชัด แต่ที่สำคัญกว่านั้น ทุกคนที่ร่วมกิจกรรม ตั้งแต่นักการทูตไปจนถึงนักเรียน ช่วยกันคัดแยก นับ และวัดปริมาณขยะ รวมทั้งเรียนรู้สาเหตุการวิจัย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยทำความสะอาดชายหาดครั้งนี้ทำให้เราเข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่าเราลงมือทำทุกวันเพื่อช่วยมหาสมุทรและสัตว์ทะเล ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเก็บขยะทั่วโลกทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมตกใจเมื่อได้เห็นขยะจำนวนมากที่คนทิ้งไว้ แต่ก็ริเริ่มจัดทำวิธีประชาคมศาสตร์ (civil science) ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างมนุษยชาติกับสิ่งแวดล้อม ตามที่ดร. ฟิลิปส์กล่าวเรามักสนใจแต่พลาสติก จึงลืมความจริงที่ว่าธรรมชาติถูกพลาสติกทับถมอยู่ ดังนั้น การพาคนกลุ่มนี้ออกไปกำจัดขยะพลาสติกช่วยให้เห็นได้ชัดขึ้นว่าธรรมชาติอยู่ตรงนั้นและให้สิ่งมีประโยชน์แก่เรา

หลังจากนี้ สหภาพยุโรปประจำประเทศไทยจะจัดกิจกรรมต่าง ร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องในปี 2563 รวมทั้งตั้งเป้าจะขยายผลโดยจัดตั้งเครือข่ายประชาคม ซึ่งทำงานร่วมกับอาสาสมัครและเยาวชนไทย เพื่อส่งสารและส่งเสริมให้ทุกคนต่อสู้กับมลภาวะที่เกิดจากพลาสติกเป็นการด่วน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดการกับพลาสติกฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป (EU Plastics Strategy) ซึ่งผ่านการรับรองจากประเทศสมาชิกในเดือนมกราคม .. 2561 เป็นส่วนหนึ่งของช่วงเปลี่ยนถ่ายไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ให้อุตสาหกรรมพลาสติกเป็นอุตสาหกรรมที่ล้ำสมัย อัจฉริยะ และยั่งยืน ผู้สนใจเป็นอาสาสมัครสามารถติดตามกิจกรรมล่าสุดได้ที่ช่องทางโซเชียลมีเดียของสหภาพยุโรปในประเทศไทย (Facebook: @EUinThailand / Instagram: @EUinThailand) ได้

การดำเนินการครั้งนี้สอดคล้องกับแคมเปญ #EUBeachCleanup ของสหภาพยุโรปที่จัดขึ้นทั่วโลก ซึ่งจัดก่อนการประชุมว่าด้วยเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) และสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (UN) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23-25 ​​กันยายน 2562 ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) และสัปดาห์การรณรงค์เรื่องปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Diplomacy Weeks) ตั้งแต่ 23 กันยายนถึง 6 ตุลาคม 2562

ดาวน์โหลดภาพจากงานได้ที่นี่

ที่มา

  • ตัวแทนจากสหภาพยุโรปเกือบ 80 แห่งทั่วโลกกำลังดำเนินแคมเปญการทำความสะอาดชายหายของสหภาพยุโรป (EU Beach Cleanup) ในปี 2562
  • พลาสติกนับเป็นร้อยละ 85 ของขยะตามชายหาดทั่วโลก และพลาสติกกว่า 7,700 ล้านกิโลกรัมลอยลงสู่มหาสมุทรทุกปีและเป็นภัยต่อสัตว์ทะเลส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งถือเป็นร้อยละ 70 ของขยะทะเล เนื่องจากขยะทะเลเป็นปัญหาระดับโลก สหภาพยุโรปจึงดำเนินมาตรการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยยุทธศาสตร์การจัดการกับพลาสติกฉบับใหม่
  • ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการกับพลาสติกฉบับใหม่ สหภาพยุโรปจะ:
    • ทำให้การรีไซเคิลสร้างผลกำไรให้ธุรกิจ
    • ควบคุมขยะพลาสติก
    • หยุดการทิ้งขยะในทะเล
    • ขับเคลื่อนการลงทุนและนวัตกรรม
    • กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม กรุณาอ่านกลยุทธ์ยุโรปว่าด้วยพลาสติกในเศรษฐกิจหมุนเวียน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน