หลังจากผ่านช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้หลาย ๆ คน ต้องมีการวางแผนทางการเงินที่มากขึ้นอย่างเท่าตัว การจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนประกันสังคม นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย อาทิเช่น กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงานและเสียชีวีตแล้วในกรณีเกษียณอายุ ผู้ประกันตนมีโอกาสได้รับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคมในรูปแบบเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือเงินบำนาญ (เงินรายเดือน) ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของผู้ประกันตนไว้ใช้ดำรงชีพหลังเกษียณอายุ

เงินบำเหน็จและเงินบำนาญชราภาพ ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากส่วนนี้เมื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สามารถขอรับสิทธิเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญชราภาพ ตามเงื่อนไขและระยะเวลาการส่งเงินสมทบกรณีชราภาพที่ได้ออมไว้ขณะเป็นผู้ประกันตน

เงินชราภาพ มาจากเงินสมทบที่จ่ายประกันสังคมคิดเป็นร้อยละ 3 ของฐานเงินเดือนที่นำส่งเงินสมทบที่ถูกหักออมไว้นั่นเอง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แล้วแต่ระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบ ดังนี้

1.เงินบำเหน็จชราภาพผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินคือ

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี)

มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

เมื่อออกจากงาน หรือ ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

การคำนวณเงินที่ได้รับ

🔺 จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน

จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว

🔺 จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน

จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตน + เงินสมทบนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน ตามยอดเงินชราภาพนั่นเอง

2.เงินบำนาญชราภาพ

💰ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินคือ

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป

มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

เมื่อออกจากงาน หรือ ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

การคำนวณเงินที่ได้รับ

🔺 จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (คำนวณจากเงินสมทบที่นำส่งประกันสังคม ฐานค่าจ้าง ขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)

🔺 จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) จะบวกเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน (หรือได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย + 1.5% ทุก ๆ 1 ปี ) ผู้ประกันตนสามารถดูเงินสมทบบำนาญชราภาพของตนเองเบื้องต้นได้จากคำนวณจากสูตรนี้ คำนวณเงินที่ได้รับ 2 กรณี คือ

1.เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท) ตัวอย่างเช่น : ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 15 ปี

มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 3,000 บาท

2.เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป จะได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

(ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท) และได้เพิ่ม อีก 1.5% ของทุกปี = 20% + (1.5*จำนวนปี)

ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนอายุ 60 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 35 ปี มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ เดือนละ 7,500 บาท

*กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทมีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทุกกรณีได้ที่ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน หรือเพียงแค่คลิก สิทธิประโยชน์ก็อยู่ในมือคุณ

o LINE OFFICIAL ACCOUT: @ssothai

o สายด่วน 1506 บริการตลอด 24 ชั่วโมง

o เว็บไซต์: www.sso.go.th

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน