ปัจจุบันปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ 2019 (โควิด-19) ที่มีมาต่อเนื่องหลายปีส่งผลให้รายได้หลักจากการท่องเที่ยวของประเทศไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จึงเป็นหนึ่งในทางออกที่จะช่วยฟื้นฟูรายได้และยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับนานาชาติ หรือ Thailand medical hub ได้อย่างยั่งยืน มีคุณภาพ ความชำนาญเฉพาะทาง และเทคโนโลยี เพื่อเป็นธุรกิจขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม แพทยสภาได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการ ยกระดับความรู้และจริยธรรม ของแพทย์ไทยให้ได้มาตรฐาน แต่การประชาสัมพันธ์การตลาดศัลยกรรมของต่างประเทศยังเป็นอุปสรรค ส่งผลให้เกิดค่านิยมในผู้ที่สนใจทำศัลกรรมและมีการเสนอค่าตอบแทนที่สูงให้กับคนไทยบางกลุ่มเพื่อเป็นเครื่องมือนำเงินเข้าประเทศตัวเอง ซึ่งถือเป็นการด้อยค่า ความสามารถแพทย์ไทยอย่างมาก

นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์ อดีตเลขาธิการแพทยสภา และประธานชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ แพทย์ไทยที่คิดค้น ซิลิโคนทำจมูก ที่หลายๆคนรู้จักในนามว่า ซิลิโคนแมนทิส (Mantis) หรือซิลิโคนทรงตั๊กแตน นวัตกรรมไทยอย่างเดียวที่ได้จดสิทธิบัตรกับ Patent &Trademark Office (PTO) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก เปิดเผยว่าที่ผ่านมา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข(สบส.) มีนโยบายปราบปรามเอเจนซี่ศัลยกรรมเกาหลีมาตลอดเพราะคนไทยส่วนใหญ่ถูกการตลาดต่างชาติครอบงำจึงตกเป็นเหยื่อได้ง่ายบางรายถูกหลอกไปทำศัลยกรรมถึงเกาหลีใต้ด้วยราคาที่แพงและมีปัญหาผลข้างเคียงทันทีหรือไม่ก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัวในภายหลัง เพราะหลงเชื่อเอเจนซี่คนไทยรวมถึงแพทย์และสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ มีข้อตกลงร่วมกันในการชักชวนคนไปทำศัลยกรรม แต่ไม่มีการทำสัญญาอย่างชัดเจน เรื่องของการดูแลชดเชยกรณีเกิดปัญหาต่างๆตามมา

ผมต้องขอชื่นชมในเรื่องนี้ เพราะ สบส. ออกมาทำงานเพื่อประชาชน เพื่อประเทศไทยเรา เพราะคนไทยส่วนใหญ่นั้นถูกการตลาดของต่างชาติ เข้ามาครอบงำ ทำให้ตกเป็นเหยื่อในการถูกหลอกไปทำศัลยกรรมที่เกาหลีใต้ ด้วยการจ่ายเงินที่สูงและผลทางการรักษาที่มีปัญหาแบบหลังทำทันที หรือที่จะมีตามมาในอนาคตแบบไม่รู้ตัว โดยที่ได้ข้อมูลต่างๆจากเอเจนซี่คนไทย แพทย์และสถานพยาบาลไทยที่ทำสัญญาในเรื่องการได้ผลตอบแทนร่วมกัน เมื่อมีคนจ่ายเงินไปทำศัลยกรรม แต่ไม่มีเรื่องข้อตกลงในการดูแลชดเชยหากมีปัญหาหลังทำไว้ชัดเจนแบบตอนที่จะเอาเงินคนไข้เลย “นายแพทย์สัมพันธ์ กล่าว

นายแพทย์สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า การนำแพทย์ต่างชาติเข้ามาให้คำปรึกษา หรือผ่าตัดคนไข้ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ต่อมาได้มีการเลี่ยงข้อกฎหมายด้วยการ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ หรือผ่านตัวแทนบุคคล ที่อ้างว่าได้รับการอบรมจากสถาบันสอนให้เป็นเอเจนซี่ศัลยกรรมเกาหลี แต่ไม่ได้มีการรับรองจากหน่วยงานทางการแพทย์ของไทย บางรายนำแพทย์ต่างชาติเข้ามาทำงานหาเงินในประเทศไทยด้วยซ้ำ ซึ่งถือ เป็นการกระทำที่ดูแคลน ด้อยค่า ศักยภาพแพทย์ไทยอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นทางแพทยสภา ได้มีการดำเนินนโยบายเรื่องการอบรมพัฒนา ความรู้ ความสามารถ และจริยธรรมของแพทย์ไทยให้อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกัน เมื่อแพทย์ที่เข้าอบรมผ่านเกณฑ์แล้วจะได้รับใบรับรองประกอบวิชาชีพ สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ จึงวางใจเรื่องความปลอดภัย

สำหรับผู้ที่ติดต่อทำศัลยกรรมผ่านทางสถานพยาบาล หรือแพทย์ไทยนั้น ทาง แพทยสภาจะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและจริยธรรมแพทย์ที่จะทำการผ่านตัดให้ สบส.ดูเรื่องสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ส่วนกรณีเกิดความเสียหายหรือผลข้างเคียงทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)จะเข้ามาดูแลให้คำปรึกษา

ติดต่อเรื่องต่างๆแพทยสภาได้ที่ https://www.tmc.or.th/check_md/

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน