การอ่านเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำคัญในการแสวงหาความรู้ เป็นช่องทางในการเสริมสร้างจินตนาการและความคิดไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของตนเอง ก่อให้เกิดความคิดและวิสัยทัศน์ที่หลากหลาย กว้างไกล นับเป็นปัจจัยและมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ การรับรู้ข่าวสารต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และมีความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น จากการศึกษาทั้งในและนอกระบบ การอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งของผู้เรียนที่จะแสวงหาความรู้ที่สูงขึ้น

ในยุคของการเติบโตของสื่อดิจิทัลที่รุกคืบพื้นที่การอ่านเชิงคุณภาพมากขึ้น แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน (สสส.) ร่วมกับศูนย์ประสานงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนท้องถิ่น และเครือข่ายร่วมสร้างวัฒนธรรมการอ่านจากภาครัฐ อาทิ แผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย พ.ศ. 2560 – 2564 : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, กระทรวงสาธารณสุข : กรมอนามัย, กระทรวงมหาดไทย : กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจสังคม, สภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) , สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) , สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร , กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ , สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ , สำนักอุทยานการเรียนรู้ TK Park , Thailand EF Partnership , สมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย , คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก, องค์กรภาคธุรกิจ , องค์กรภาคประชาสังคม ฯลฯ ตระหนักถึงความสำคัญพฤติกรรมการอ่านซึ่งมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป จึงจะได้กำหนดให้มีการจัดงาน มหกรรมการอ่านแห่งชาติ : “มหัศจรรย์การอ่านเพื่อเด็กปฐมวัย” ขึ้น

ลักษณะงาน / กิจกรรม

ภายในงานประกอบด้วยโซนต่าง ๆ อาทิ งานวิชาการ, งานนวัตกรรมส่งเสริมการอ่านที่ประสบความสำเร็จ, กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลายหลายทั้งระดับครอบครัว ชุมชน และระดับชาติ ฯลฯ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน